ชิงทุนการศึกษา 500 บาท



ในแต่ละสัปดาห์มีคำถามให้ร่วมสนุก สัปดาห์ละ 1 ข้อ (เดือนนี้มีทั้งหมด 4 ข้อ) ติดตามคำถามแต่ละสัปดาห์ ได้ที่นี้ ในทุกวันจันทร์ เริ่มร่วมสนุกในวันจันทร์ที่ 8 มีนาคม 2553
นักศึกษาสามารถส่งคำตอบได้ทั้ง 2 ช่องทาง คือ
1. KLINICS Blog ของสำนักหอสมุด
2. ส่งคำตอบทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) พร้อมเขียน ชื่อ-สกุล ภาควิชาคณะ และชั้นปี
การพิจารณาให้รางวัล พิจารณาจาก การส่งคำตอบได้ถูกต้อง (ทั้งหมด 4 ข้อ) เร็วที่สุด และมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ โดยเรียงลำดับคะแนนผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก แต่ละสัปดาห์ติดตามผู้ที่มีคะแนนสูงสุดได้ทางที่นี้ เท่านั้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมประจำเดือนมีนาคม



ทุกวันจันทร์ เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการสืบค้นในเว็บไซด์ของสำนักหอสมุด
ทุกวันอังคาร เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการสืบค้นฐานข้อมูลด้านการวิจัยและวิทยานิพนธ์
ทุกวันพุธ เวลา 13.30-15.00 การสร้างบรรณานุกรม ด้วยโปรแกรม End Note
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.30-15.00 การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ Online Database System
ทุกวันศุกร์ เวลา 13.30-15.00 การสร้างสรรค์ปรับแต่งภาพเบื้องต้นด้วยโปรแกรม PhotoScape

*กิจกรรมทุกวันอบรมในเวลา 13.30-15.00 และสถานที่อบรม ห้อง KLINICS ชั้น 1 หรือ ชั้น 5 (ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้าอบรม)

**หากนักศึกษา และผู้สนใจประสงค์จะเข้าร่วมกิจกรรม โปรดแจ้งหัวข้อกิจกรรม ชื่อ-สกุล หน่วยงานที่สังกัด และหมายเลขโทรศัพท์ โดยติดต่อมาที่ Kanita.sae@kmutt.ac.th (กรุณาแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน เพื่อจัดเตรียมสถานที่และเอกสาร)

ขั้นตอนในการสมัครเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละหัวข้อ
1. เลือกหัวข้อที่ต้องการเข้าอบรม
2. แจ้งชื่อ-สกุล คณะ และเบอร์โทรศัพท์ ที่ Kanita.sae@kmutt.ac.th
3. รอการยืนยันผ่านทางอีเมลเพื่อแจ้ง วัน เวลา และสถานที่ในการอบรม

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

KLIN KM e-Magazine




ฉบับเดือนธันวาคม





ฉบับเดือนพฤศจิกายน






ฉบับเดือนตุลาคม






ฉบับเดือนกันยายน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อสุดท้ายประจำเดือนกุมภาพันธ์




ทีมนักวิจัยเอ็มเท็คได้พัฒนาพลาสติกชีวภาพ โดยมีหลากหลายรูปแบบ สามารถปรับสูตรในการการผลิตได้ตามใจชอบ และยังช่วยลดการนำเข้าเม็ดพลาสติกจากต่างประเทศอีกด้วย อยากทราบว่าพลาสติกชีวภาพ หรือ Compostable plastic มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากพลาสติกโดยทั่วไปอย่างไรบ้าง

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ ควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น แล้วสรุปคำตอบที่ชัดเจน โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 3 ประจำเดือนกุมภาพันธ์



ดร.สเมียร์นอฟ ได้พัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ "เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดผลกระทบจากการสั่นพ้องในระดับโมเลกุล" หรือ “เอ็มเร็ท” (Molecular Resonance Effect Technology: MRET) ที่ทำให้น้ำธรรมดากลายเป็นน้ำแอคทิเวท โดยไม่มีการเติมสารใด ๆ อยากทราบว่าน้ำที่ผ่านกระบวนการทางเอ็มเร็ทแล้วมีชื่อเรียกว่าอะไร และคุณสมบัติที่สำคัญเมื่อผ่านกระบวนการทางเอ็มเร็ทแล้วคืออะไร

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ ควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น แล้วสรุปคำตอบที่ชัดเจน โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 2 ประจำเดือนกุมภาพันธ์


ไต้จื่อ เจิง นักศึกษาชาวจีนได้คิดค้นโทรศัพท์มือถือโดยนำโครงสร้างพื้นฐานจากโนเกียมาประยุกต์ให้ Colaphone ใช้กระป๋องน้ำอัดลมเป็นแหล่งพลังงานแทนแบตเตอรี่ได้ อยากทราบว่าแบตเตอรี่ชีวภาพนี้แตกต่างจากแบตเตอรี่ทั่วไปอย่างไร

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ ควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น แล้วสรุปคำตอบที่ชัดเจน โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

5 นวัตกรรม ที่กำลังมาอีกใน 5 ปี


ไอบีเอ็มได้เปิดเผยรายงานประจำปี "เน็กซ์ 5 อิน 5" (Next 5 in 5) ฉบับที่ 4 ซึ่งมีการคาดการณ์นวัตกรรมและเทคโนโลยี 5สิ่ง ที่กำลังจะเกิดขึ้นและมีผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลก ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า จากการวิเคราะห์เทคโนโลยีในห้องปฏิบัติการ ประกอบกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้

1. "โมเดลคณิตศาสตร์" ช่วยโลกรับมือโรคระบาด

ไอบีเอ็มคาดการณ์ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จะมีบทบาทในด้านสาธารณสุขมากยิ่งขึ้น ในการหาแนวโน้มรูปแบบการระบาดของโรคว่าจะเกิดการระบาดขึ้นบริเวณไหน เวลาใดบ้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและเตรียมการรับมือเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาด และการรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที

2. รถพลังไฟฟ้า

ผู้เชี่ยวชาญไอบีเอ็มยังคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า พลังงานทดแทนอื่นๆ ก็จะถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ด้วยเช่นกัน อาทิ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่รองรับระบบขนส่งมวลชนที่ใช้พลังงานไฟฟ้าก็จะได้รับการพัฒนาให้ก้าวล้ำและแพร่หลายมากขึ้นด้วย

3. อาคารอัจฉริยะ

ในอนาคตอันใกล้นี้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอาคาร เพื่อเชื่อมโยงระบบต่างๆ ภายในอาคาร ทั้งระบบไฟฟ้า น้ำประปา อุณหภูมิ โทรคมนาคม และระบบรักษาความปลอดภัย โดยจะเชื่อมโยงกันและบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงาน และปลอดภัยยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานหรือผู้เข้าพักได้ราวกับมีชีวิต และด้วยระบบอัจฉริยะภายในอาคาร จะมีการเตือนล่วงหน้าด้วยว่าระบบหรืออุปกรณ์ชิ้นไหนควรได้รับการซ่อมบำรุงก่อนที่จะเกิดการชำรุดเสียหาย และยังตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที
ตัวอย่างอาคารอัจฉริยะในปัจจุบัน เช่น โรงแรมไชน่า หังโจว ดราก้อน ในประเทศจีน, อาคารเซเว่น เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในนครนิวยอร์ก สหรัฐฯ

4. เทคโนโลยีอัจฉริยะ ช่วยป้องกันปัญหาอาชญากรรมในเมือง

ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีขั้นสูงจะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมในเมืองให้น้อยลงได้ และเพิ่มความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ด้วยระบบวิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรมจากสถิติและแนวโน้มเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าว่าพื้นที่ไหน เวลาใด เสี่ยงเกิดเหตุร้าย และช่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจลงพื้นที่ตรวจตราความสงบเรียบร้อย และป้องกันการก่ออาชญากรรมหรือรับมือกับปัญหาได้อย่างทันท่วงที

นอกจากนี้ เทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันและรับมือกับปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ก็จะได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและมีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น เช่น ระบบดับเพลิงอัจฉริยะ ช่วยคาดการณ์ความเสี่ยงจากอัคคีภัยในเมือง และรับมือกับปัญหาเพลิงไหม้หรือไฟป่า, ระบบควบคุมอุทกภัยแบบอัจฉริยะ ด้วยเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณน้ำฝนบริเวณเขื่อนกันน้ำท่วม ตามแนวชายฝั่งทะเลและแม่น้ำลำคลอง เช่น ศูนย์จัดการน้ำระดับโลก (Global Center for Water Managment) ของไอบีเอ็ม ในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอแลนด์ กำลังบุกเบิกเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่ในตอนนี้

5. ระบบจัดการน้ำอย่างชาญฉลาด บรรเทาปัญหาน้ำขาดแคลน

ผู้เชี่ยวชาญของไอบีเอ็มระบุว่าในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ปริมาณการใช้น้ำทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นมากกว่านั้นหลายเท่าตัว และปัจจุบันนี้น้ำที่มีอยู่ทั่วโลกมีเพียง 2% เท่านั้นที่สามารถใช้อุปโภคและบริโภคได้ และความต้องการน้ำของมนุษย์จะเพิ่มขึ้นอีก 6 เท่าในอีก 50 ปีข้างหน้า แต่ปัญหาขาดแคลนน้ำนั้นเป็นภัยคุกคามประชาชนแล้วหลายพื้นที่ โดยมีประชากรถึง 1 ใน 5 ของโลก เข้าไม่ถึงน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัย

ที่มา
manager
IBM

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลประจำเดือนมกราคม

นายณุวีร์ พฤกษ์เจริญ คณะ เทคโนโลยีสารสนเทศ สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ที่รับรางวัลในเดือนมกราคมนี้กรุณาติดต่อกลับที่อีเมล kanita.sae@kmutt.ac.th ก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 เพื่อติดต่อนัดวันและเวลามารับของรางวัล มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ พร้อมกันนี้โปรดนำสำเนาบัตรนักศึกษาพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้องมารับรางวัล

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 1 ประจำเดือนกุมภาพันธ์


บริษัทในประเทศเยอรมันได้พัฒนาบัตรประจำตัวประชาชนแห่งอนาคต ซึ่งเป็นบัตรประจำตัวประชาชน 3 มิติ อยากทราบว่าประสิทธิภาพของบัตรประจำตัวประชาชน 3 มิติ คืออะไร

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ ควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น แล้วสรุปคำตอบที่ชัดเจน โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม