กูเกิลเปิดตัว Google Maps ให้บริการในประเทศไทย


บริษัท กูเกิล อิงก์ ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.), องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.), บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้บริการ Google แผนที่(Google Maps)เพื่อวางแผนการเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆ ภายในกทม. ด้วยรถโดยสารประจำทางหรือรถยนต์ส่วนบุคคล รวมถึง บริการรายงานสภาพการจราจรและข้อมูลระบบขนส่งสาธารณะผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากข้อมูลตารางเวลารถประจำทางและรถไฟ ตำแหน่งที่ตั้ง และข้อมูลเส้นทางอย่างเป็นทางการ ทำให้กูเกิลสามารถให้ข้อมูลการจราจรได้แบบเรียลไทม์ อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ thairath
ที่มา
thairath

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมประจำเดือนธันวาคม


ทุกวันจันทร์ การสร้างและตกแต่ง Blogger
ทุกวันอังคาร เทคนิคการสืบค้นฐานข้อมูลด้านการวิจัยและวิทยานิพนธ์
ทุกวันพุธ การสร้างบรรณานุกรม ด้วยโปรแกรม End Note
ทุกวันพฤหัสบดี การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ Online Database System
ทุกวันศุกร์ เทคนิคการสืบค้นในเว็บไซด์ของสำนักหอสมุด

**หากนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากร ต้องการเข้าอบรมในหัวข้อใด สามารถแจ้งหัวข้อการอบรม ชื่อ-สกุล ผู้เข้าร่วมอบรม คณะหรือหน่วยงานที่สังกัด และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อมาที่ Kanita.sae@kmutt.ac.th

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ยูทูบใส่คำบรรยายอัตโนมัติเพื่อคนหูหนวก


ส่วนหนึ่งจากวิดีโอแนะนำบริการใส่คำบรรยายใต้ภาพวิดีโออัตโนมัติบนยูทูบ กรอบสีแดงซ้ายมือคือข้อความบรรยายที่ได้จากโปรแกรมแปลงเสียงเป็นข้อความ กรอบขวามือคือภาพวิดีโอต้นฉบับ กรอบเล็กกลางจอภาพคือภาษาที่ผู้ใช้ยูทูบสามารถเลือกได้ถึง 51 ภาษา ซึ่งมีภาษาไทยรวมอยู่ด้วยอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ manager

ที่มา
manager

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อสุดท้ายประจำเดือนพฤศจิกายน

ไพเพอรีนเป็นสารที่อยู่ในพริกไทย ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์มีรสเผ็ดแสบร้อนทำให้เกิดอาการจามอยากทราบว่าคุณสมบัติของไพเพอรีนนอกจากทำให้จามแล้วมีคุณสมบัติอื่นคืออะไร

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ ควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น แล้วสรุปคำตอบที่ชัดเจน โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

รายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดประจำสัปดาห์ที่สาม

1.นายสุทธิสักก์ สารี บัณฑิตร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE)
2.นายธีรพล มียิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3.น.ส.บุปผาพันธุ์ พวงบุปผา คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์-นาโน
4.นายเทวินทร์ อุ่นจิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
5.นายธีรพร วัฒนโสภา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

linoit กระดาษโน้ตออนไลน์ จดได้มากกว่าตัวอักษร

หาบทความที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังอยู่ดี ๆ ข่าวนี้ก็เข้าตาคนขี้ลืมอย่างผู้เขียนได้เป็นอย่างดี เลยเข้าไปอ่านดูแล้วพบว่าสีสันน่ารักมาก ๆ แบบนี้ต้องนำมาบอกต่อกันค่ะ linoit คือ เว็บไซต์ที่จำลองหน้าเว็บให้เป็นกระดานแผ่นใหญ่ ๆ สำหรับแปะโน้ตได้สารพัดรูปแบบและพิเศษไปกว่านั้นสามารถนำรูปภาพ ไฟล์ข้อมูล และวีดิโอเข้าไปได้ด้วย เจ้ากระดาษโน้ตออนไลน์ตัวนี้ยังเตือนความจำให้เจ้าของทาง E-mail ได้อีกต่างหาก เว็บไซต์ linoit สามารถใช้งานได้แบบฟรีๆ ทางเว็บจะให้พื้นที่เก็บโน้ตทั้งหมด 50 เมกะไบต์/เดือน สามารถแนบไฟล์เข้าไปกับแต่ละโน้ตในขนาดใหญ่สุดได้ 10 เมกะไบต์/เดือน เปิดให้คนอื่นเข้ามาโหลดไฟล์ได้ 10 ไฟล์/เดือน ค้นหาข้อมูลได้ย้อนหลัง 7 วัน ยังมีอีกค่ะ คือ linoit ยังอนุญาตให้เพื่อน ๆ ทั้งห้องมาช่วยกันแปะโน้ตต่าง ๆ บนกระดานแผ่นเดียวกันอีก แบบนี้แล้วทั้งงานเดี่ยวงานกลุ่มไม่ลืมแน่นอนค่ะ




ที่มา
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9520000122914

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

รายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดประจำสัปดาห์ที่สอง

1.นายธีรพล มียิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2.นายเทวินทร์ อุ่นจิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3.น.ส.บุปผาพันธุ์ พวงบุปผา คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์-นาโน และ นายสุทธิสักก์ สารี บัณฑิตร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE)
4.นายธีรพร วัฒนโสภา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

นักศึกษาสามารถสะสมคะแนนได้ต่อเนื่องในทุก ๆ สัปดาห์ หากนักศึกษาคนใดยังไม่เห็นรายชื่อของตนเองยังไม่ต้องเสียใจไปนะค่ะยังมีคำถามที่สองให้ร่วมเล่นสนุกอีกค่ะ รีบส่งคำตอบมาให้เร็วที่สุด อย่าลืมอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่พบคำตอบด้วยนะค่ะ และที่สำคัญควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น แล้วสรุปคำตอบที่ชัดเจน ขอให้โชคดีทุกคนค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ค้นพบน้ำบนดวงจันทร์


เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2552 ได้ค้นพบพบน้ำในถ้ำ “คาเบียส” (Cabeus) ซึ่งเป็นพื้นที่ในเงามืดบริเวณใกล้กับทางใต้ของดวงจันทร์

โดยยานเซนทอร์ (Centaur) ซึ่งเป็นจรวดท่อนบนของยานแอลครอสได้พุ่งตกกระทบถ้ำดังกล่าว แล้วทำให้เกิดฝุ่นละอองอยู่เบื้องล่างของถ้ำ ลักษณะของฝุ่นนั้นกระจายออกมาเป็นรูปดอกเห็ดที่มีอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรกในมุมสูงกว่าเป็นไอน้ำและฝุ่นละเอียดที่พุ่งขึ้นมา ส่วนที่สองในมุมต่ำำกว่าเป็นม่านหมอกของสิ่งที่มีหนักกว่า และสิ่งที่พุ่งขึ้นมานี้ไม่เคยเห็นแสงตะวันมาหลายพันล้านปีแล้ว อ่านต่อบทความฉบับเต็มได้ที่ manager

ที่มา
manager

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 3 ประจำเดือนพฤศจิกายน

นักวิทยาศาสตร์ชาวอิสราเอลได้พัฒนาโปรแกรมถอดรหัสอักษรที่เขียนด้วยมือ สามารถอ่านตัวอักษรที่เลือนรางจากหนังสือโบราณให้ชัดเจนขึ้น อยากทราบว่าหลักการใดที่ทำให้อ่านตัวอักษรได้ชัดเจนขึ้น

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ ควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น แล้วสรุปคำตอบที่ชัดเจน โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ฝนดาวตกเจมินิดส์


ฝนดาวตกเจมินิดส์ ( Geminids Meteor Shower ) หรือฝนดาวตกคนคู่เกิดขึ้นช่วงประมาณวันที่ 6 – 19 ธันวาคมของทุกปี และวันที่ตกจะตกมากที่สุดคือวันที่ 13 -14 ธันวาคม มีอัตราการตกประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมง

สำหรับในปีนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 ธันวาคม เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม สามารถสังเกตฝนดาวตกครั้งนี้ได้จากทางขอบฟ้าด้านทางทิศตะวันออกเฉียงขึ้นไปทางเหนือเล็กน้อยในกลุ่มดาวคนคู่ และในหลายประเทศทั่วโลกสามารถมองเห็นปรากฏการณ์ฝนดาวตก "เจมินิดส์" (Geminids) ประมาณ 30-40 ดวงต่อชั่วโมง

หากท่านใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่ คลังปัญญาไทย

ที่มา
คลังปัญญาไทย
kapook

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 2 ประจำเดือนพฤศจิกายน

ผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอะไรบ้าง และแนวทางในการป้องกันที่จะทำไม่ให้เกิดโรคได้คืออะไร

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ ควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น แล้วสรุปคำตอบที่ชัดเจน โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

รายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดประจำสัปดาห์แรก

1.นายธีรพล มียิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2.นายชัชพล พูลเพิ่มทรัพย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3.นายสุทธิสักก์ สารี บัณฑิตร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE)
4.นายธีรพร วัฒนโสภา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.น.ส.บุปผาพันธุ์ พวงบุปผา คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์-นาโน

นักศึกษาสามารถสะสมคะแนนได้ต่อเนื่องในทุก ๆ สัปดาห์ หากนักศึกษาคนใดยังไม่เห็นรายชื่อของตนเองยังไม่ต้องเสียใจไปนะค่ะยังมีคำถามที่สองให้ร่วมเล่นสนุกอีกค่ะ รีบส่งคำตอบมาให้เร็วที่สุด อย่าลืมอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่พบคำตอบด้วยนะค่ะ และที่สำคัญควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น แล้วสรุปคำตอบที่ชัดเจน ขอให้โชคดีทุกคนค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

พบจุดอ่อนเชื้อ "ไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์" ถูกทำลายได้ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

ทีมนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอลาบามาที่เบอร์มิงแฮม (University of Alabama at Birmingham) มลรัฐอลาบามา สหรัฐฯ ค้นพบจุดอ่อนของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ ว่าจะถูกทำลายเมื่อเจอสารต้านอนุมูลอิสระหรือแอนติออกซิแดนต์ (antioxidant) ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้ตีพิมพ์ลงในวารสารสหภาพสมาคมอเมริกันเพื่อการทดลองทางชีววิทยา (FASEB Journal) ฉบับเดือน พ.ย. 52 อ่านบทความเต็มได้ที่ ผู้จัดการออนไลน์



ที่มา
ASTVผู้จัดการออนไลน์ (2552). "พบจุดอ่อนเชื้อ "ไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์" ถูกทำลายได้ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ." Available : 6 พฤศจิกายน 2552.

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้จัดอย่างต่อเนื่องมา 5 ปีแล้ว ในปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 17-27 พ.ย. 52 โดยสถานที่ฉายภาพยนตร์ 5 แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ), องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คลอง 5 ปทุมธานี, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย, พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร และอุทยานการเรียนรู้ทีเค ปาร์คสำหรับท่านใดสนใจชมภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ goethe
ที่มา
goethe

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงได้รับการโหวตทางอินเตอร์เน็ตจากชาวจีน

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ที่ผ่านมา มีรายงานข่าวทางทางอินเตอร์เน็ตว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงได้รับการโหวตทางอินเตอร์เน็ตจากชาวจีนทั่วประเทศ ด้วยคะแนนกว่า 2 ล้านคะแนน ให้สมเด็จพระเทพฯ เป็นมิตรที่ดีที่สุดในโลกเป็นอันดับ 2 โดยมิตรที่ดีที่สุดในโลกที่ชาวจีนโหวตให้เป็นอันดับ 1 คือ ฮวน อันโตนิโอ ซามารานซ์ อดีตประธานโอลิมปิกสากล ชาวสเปน ที่เป็นผู้สนับสนุนให้จีนได้จัดกีฬาโอลิมปิกในปี 2008 หากท่านใดสนใจ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ไทยรัฐ
ที่มา
ไทยรัฐ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 1 ประจำเดือนพฤศจิกายน

รางวัลโนเบลเป็นรางวัลที่มอบให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานสาขาต่าง ๆ มีการประกาศในเดือนตุลาคมของ ทุกปี ท่านทราบหรือไม่ว่าในปี 2009 ที่ผ่านมามีใครได้รับรางวัลโนเบลในสาขาใดบ้าง

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วันลอยกระทง


วันนี้ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันลอยกระทง และเป็นประเพณีที่สืบสานกันมายาวนาน เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา

เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม

การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของคนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน โดยนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุด ที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืน

หากท่านใดสนใจเข้าร่วมประเพณีวันลอยกระทงแต่และไม่ทราบว่าจัดที่ใดบ้าง สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.loikrathong.net/

ที่มา http://www.loikrathong.net/

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม