KLIN KM e-Magazine ฉบับที่ 2


ในฉบับที่ 2 ของ KLIN KM e-Magazine มีบทความที่น่าสนใจที่หลากหลายดังต่อไปนี้ค่ะ IT Tips โรคสำหรับคนใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน Bloom Taxonomy เป็นต้น หากท่านใดต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านบทความได้ที่ KLIN KM e-Magazine

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

การดาวน์โหลดรูปออกจาก Facebook

FacePAD เป็น addon บน Firefox ที่จะทำให้ดาวน์โหลดรูปภาพใน Facebook ได้ เพียงคลิกครั้งเดียวเท่านั้น แต่มีข้อแม้ว่าต้องดาวน์โหลด addon ตัวนี้มาก่อน และต้องใช้ Firefox ด้วย หลังจากดาวน์โหลด FacePAD มาแล้ว เมื่อไปที่หน้า addon คลิกที่ปุ่ม “Add To Firefox” ระบบจะยังไม่ส่งไปที่หน้าดาวน์โหลดแต่จะมาที่หน้าที่ผู้เขียนโปรแกรมตั้งไว้ให้คนช่วยบริจาคเพื่อการพัฒนาต่อ ๆ ไป ให้คลิก“Add To Firefox” เพื่อดำเนินการต่อระบบปรากฏหน้าแสดงรายละเอียดกติกาต่าง ๆ เมื่ออ่านข้อตกลงเรียบร้อยแล้วคลิกที่ “Accept and Install” เพื่อเริ่มการลงโปรแกรมนี้บน Firefox ระบบจะให้ยืนยันการติดตั้ง ให้คลิกที่ปุ่ม “ติดตั้งเดี๋ยวนี้” แล้วจะต้องทำการ restart firefox อ่านต่อบทความฉบับเต็มได้ที่บทความดาวน์โหลดรูปออกจาก Facebook

ที่มา
http://technology.impaqmsn.com/article.aspx?path=spec&rid=0&id=9430

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ชิงทุนการศึกษา 500 บาท


ในแต่ละสัปดาห์มีคำถามให้ร่วมสนุก สัปดาห์ละ 1 ข้อ (เดือนนี้มีทั้งหมด 4 ข้อ) ติดตามคำถามแต่ละสัปดาห์ ได้ที่นี้ ในทุกวันจันทร์
นักศึกษาสามารถส่งคำตอบได้ทั้ง 2 ช่องทาง คือ
1. KLINICS Blog ของสำนักหอสมุด
2. ส่งคำตอบทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) พร้อมเขียน ชื่อ-สกุล ภาควิชาคณะ และชั้นปี
การพิจารณาให้รางวัล พิจารณาจาก การส่งคำตอบได้ถูกต้อง (ทั้งหมด 4 ข้อ) เร็วที่สุด และมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ โดยเรียงลำดับคะแนนผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก แต่ละสัปดาห์ติดตามผู้ที่มีคะแนนสูงสุดได้ทางที่นี้ เท่านั้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน


ทุกวันจันทร์ เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการค้นข้อมูลจาก Search Engine
ทุกวันอังคาร เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการสืบค้นฐานข้อมูลด้านการวิจัยและวิทยานิพนธ์
ทุกวันพุธ เวลา 13.30-15.00 การสร้างบรรณานุกรม ด้วยโปรแกรม End Note
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.30-15.00 การสร้างสรรค์ปรับแต่งภาพเบื้องต้นด้วยโปรแกรม PhotoScape
ทุกวันศุกร์ เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการสืบค้นในเว็บไซด์ของสำนักหอสมุด

**หากนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากร ต้องการเข้าอบรมในหัวข้อใด สามารถแจ้งหัวข้อการอบรม ชื่อ-สกุล ผู้เข้าร่วมอบรม คณะหรือหน่วยงานที่สังกัด และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อมาที่ Kanita.sae@kmutt.ac.th

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เพราะอะไรทำไมเราต้องจามเมื่อเจอพริกไทย

สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เราต้องจามนั่นก็เพราะสารเคมีที่ชื่อ “ไพเพอรีน” (piperine) ที่อยู่ในพริกไทย ไพเพอรีนเป็นสารอัลคาลอยด์ที่มีรสเผ็ดแสบร้อนที่เป็นตัวทำให้ระคายเคือง

ส่วนการจามเกิดจากประสาทส่วนปลายที่เยื่อบุอ่อนต่าง ๆ ในช่องจมูกและปาก ได้รับรู้ว่ามีสิ่งผิดปกติมากระตุ้น จึงสั่งการให้ผลักดันสิ่งผิดปกติดังกล่าวออกไป นับเป็นปฏิกิริยาต่อต้านของร่างกายเพื่อป้องกันตนเองด้วยการจาม

นักวิทยาศาสตร์ไทยได้วิจัยเรื่องสารไพเพอรีน และพบว่ามีคุณสมบัติในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ จึงพยายามพัฒนาเป็นสเปรย์หยอดจมูก โดยจะสกัดสารในระดับนาโนเมตร เพื่อจะลดปฏิกิริยาต่อเยื่อบุต่างๆ ให้น้อยที่สุด

เมื่อเราจามในแต่ละครั้ง สิ่งต่าง ๆ ที่หลุดออกจากจมูกหรือปากจะเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะค้างวนเวียนอยู่ในอากาศได้นานเป็นวัน ๆ ที่สำคัญ เราจามแต่ละครั้งมีเชื้อโรคแพร่สู่อากาศถึง 20,000 ตัว

ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000126767

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

รางวัลโนเบลประจำปี 2009


ในเดือนตุลาคมของทุก ๆ ปีจะมีการประกาศผลรางวัลโนเบล และมีพิธีมอบรางวัลในวันที่ 10 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) ผู้ก่อตั้งรางวัลอันทรงเกียรตินี้ สำหรับในปีนี้ได้มีการประกาศผลรางวัลโนเบล ประจำปี 2009 ครบทุกสาขาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คือ

สาขาสรีรศาสตร์ หรือการแพทย์ ผู้ที่ได้รับรางวัลมีดังนี้ Elizabeth H. Blackburn, Carol W. Greider และ Jack W. Szostak ประกาศรางวัลเมื่อ 5 ตุลาคม 2552

สาขาฟิสิกส์ ผู้ที่ได้รับรางวัลมีดังนี้ Charles K. Kao Willard S. Boyle และ George E. Smith ประกาศรางวัลเมื่อ 6 ตุลาคม 2552

สาขาเคมีผู้ที่ได้รับรางวัลมีดังนี้ Venkatraman Ramakrishnan, Thomas Steitz และ Ada Yonath ประกาศรางวัลเมื่อ 7 ตุลาคม 2552

สาขาวรรณกรรมผู้ที่ได้รับรางวัลคือ Herta Müller ประกาศรางวัลเมื่อ 8 ตุลาคม 2552

สาขาสันติภาพผู้ที่ได้รับรางวัลคือ Barak Obama ประกาศรางวัลเมื่อ 9 ตุลาคม 2552

สาขาเศรษฐศาสตร์ผู้ที่ได้รับรางวัลมีดังนี้ Elinor Ostrom และ Oliver E. Williamson ประกาศรางวัลเมื่อ 12 ตุลาคม 2552

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://nobelprize.org/

ที่มา
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000117399
http://nobelprize.org/

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประักาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล

นางสาวเทพิน แซ่ลี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

กรุณาติดต่อกลับที่ e-mail kanita.sae@kmutt.ac.th เพื่อนัดวันและเวลารับของรางวัล และนำสำเนาบัตรนักศึกษาพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

รู้ทัน กล้องแอบถ่าย ก่อนเป็นเหยื่อรายต่อไป!

อ่านข่าวนี้แล้วคิดถึงน้อง ๆ ที่ต้องเช่าหอพักค่ะ คงจำกันได้ว่าหลายเดือนก่อนมีข่าวการนำกล้องไปแอบถ่ายในห้องเช่า เพราะเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีที่เล็กลงสะดวกสบายขึ้นก็ใช่ว่าคนทุกคนจะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางที่ดีเสมอไปเลยนำมาฝากให้รู้ทันและคอยสังเกตสิ่งรอบตัวด้วยค่ะ บทความนี้อาจจะช่วยให้น้อง ๆ ที่ต้องอยู่หอพักหรือห้องเช่ามีข้อสังเกตเพื่อความปลอดภัยกันมากขึ้นค่ะ อ่านบทความฉบับเต็ม

ที่มา
รู้ทัน กล้องแอบถ่าย ก่อนเป็นเหยื่อรายต่อไป!!, available :http://hitech.sanook.com/technology/news_13482.php [14 ตุลาคม 2552]

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

แนะนำ : ศูนย์จุลินทรีย์


ศูนย์จุลินทรีย์เป็นแหล่งกลางรวบรวม เก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์นอกถิ่นกำเนิด ที่มีประโยชน์ในการเกษตร อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้มาตรฐาน ISO 9001: 2000 นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยบริการด้านจุลินทรีย์ (service culture collection) แห่งเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดย UNESCO เมื่อปี พ.ศ. 2519 ให้ทำหน้าที่เป็นศูนย์ฯในระดับภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ และเป็นศูนย์เครือข่ายระดับโลก (UNESCO World Network of Microbiological Resources Centre -MIRCEN) ดำเนินกิจกรรมงานวิจัยและงานบริการด้่านจุลินทรีย์ เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรจุลินทรีย์อย่างยั่งยืน มีหน้าที่หลักในการให้บริการและทำงานวิจัย มีการทำบัญชีรายชื่อจุลินทรีย์ขึ้นทุกๆ 5 ปี ซึ่งปัจจุบันเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ.2543 และภายในสิ้นปีนี้จะทำการจัดพิมพ์ฉบับใหม่ซึ่ง เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 7 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมหรือเข้าไปอ่านบทความเกี่ยวกับจุลินทรีย์ได้ที่ ศูนย์จุลินทรีย์


ที่มา

http://www.tistr.or.th/mircen/#

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

3 ผู้สร้างแผนที่ "ไรโบโซม" สู่การพัฒนายาปฏิชีวนะรับโนเบลเคมี

นักวิทยาศาสตร์จากอินเดีย สหรัฐฯ และอิสราเอล จับมือกันคว้ารางวัลโนเบลสาขาเคมีปีนี้ หลังศึกษาไรโบโซมลงลึกถึงระดับอะตอม พร้อมสร้างแผนที่การทำงานของไรโบโซม ช่วยนักวิทย์รุ่นหลังรู้กลไกการสังเคราะห์โปรตีน ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ และเป็นฐานความรู้ สู่การพัฒนายาใหม่ที่มีเป้าหมายทำลายไรโบโซมของเชื้อโรค
อ่านต่อ

ที่มา

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000118707

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนภัยพายุ

ทางกรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนฉบับที่ 16 ว่าเมื่อเวลา 04.00 น.วันนี้หย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชัน “กิสนา (KETSANA)” ได้ปกคลุมบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี คาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศพม่าในระยะต่อไป ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบนยังคงมีฝนตกชุก โดยมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ และพื้นที่ลุ่มบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร พิจิตร ชัยภูมิ นครราชสีมา นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ระนอง และพังงา ระมัดระวังสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นได้
ที่มา http://www.tmd.go.th/

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม