วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกจากเซลล์มนุษย์

ปลายปี 2552 นี้ทางกระทรวงสาธารณสุขไทยได้ร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นวิจัย“วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกจากเซลล์มนุษย์” นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้กล่าวว่า“โครงการนี้จะใช้เวลาดำเนินการ 4 ปี เริ่มมาตั้งแต่เดือน ก.ค. 2552 ไปจนถึงเดือน ก.ค. 2556 หากสำเร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะดำเนินการศึกษาทดลองในคน ซึ่งการจัดทำโครงการในครั้งนี้จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ของไทยกับของญี่ปุ่น เพื่อจะนำไปพัฒนาความรู้ในการวิจัยต่อไป”

สำหรับโครงการวิจัย “วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกจากเซลล์มนุษย์” นพ.จักรธรรม กล่าว่า ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์รักษาโรคไข้เลือดออกจากการติดเชื้อเดงกี (The Project for Research and Development of Therapeutic Products against Infectious Diseases, especially Dengue Virus Infection) ภายใต้การสนับสนุนขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) โดยมีหน่วยงานร่วมวิจัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยโอซาก้า และเมดิคอล แอนด์ ไบโอโลจิคอล แลบบอเรเทอรีส์ (Medical and Biological Laboratories, Ltd.) สามารถอ่านบทความเต็มได้ที่เดลินิวส์

ที่มา
เดลินิวส์

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

KLIN KM e-Magazine ฉบับที่ 3


ในฉบับที่ 3 ของ KLIN KM e-Magazine มีบทความที่น่าสนใจที่หลากหลายดังต่อไปนี้ค่ะ การจองหนังสือและการยืมต่อแบบออนไลน์ จิตอาสากับงานบริการ ชีพจรลงกระเป๋า:สัมผัสความหนาวที่จ.แม่ฮ่องสอน เป็นต้น หากท่านใดต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านบทความได้ที่KLIN KM e-Magazine

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เนคเทค ดีเอสไอ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือเพิ่มขีดความสามารถด้านการป้องภัยอิเล็กทรอนิกส์

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การเพิ่มขีดความสามารถด้านการสืบสวนการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิตอล เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคล และอุปกรณ์ที่จะช่วยในการสืบหาพยานหลักฐาน รวมทั้ง เพิ่มขีดความสามารถในการป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า โครงการครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือจาก 3 หน่วยงานของภาครัฐ โดยดำเนินการมานานร่วม 2 ปี ผ่านการพิสูจน์ตรวจสอบหาพยานหลักฐาน เพื่อหาผู้กระทำความผิดมาแล้วกว่า 30 คดี ทั้งนี้ สามารถสร้างความเชื่อถือได้ถึง 84% ในการสืบสวนสอบสวนให้กับเจ้าหน้าที่โครงการนี้ได้ผ่านความร่วมมือจากนักเชี่ยวชาญในหลายด้านช่วยศึกษาข้อมูล การตั้งคำถามในการจับผิดในพฤติกรรมของผู้ที่กระทำความผิด ผ่านโปรแกรมที่ได้จัดขึ้นเพื่อสอบสวนว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดจริง

ขณะนี้ ผู้กระทำความผิดอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการก่ออาชญากรรม เช่น การปล่อยข่าวลือ เพื่อปั่นหุ้น การหลอกลวงให้เกิดการลงทุนหรือโอนเงินผ่านตู้กดเงินสดอัตโนมัติ รวมทั้งคดีที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ ที่เป็นคดีพิเศษที่ทางดีเอสไอต้องเข้าดูแลตรวจสอบหาพยานหลักฐานเพื่อจับผู้ที่กระทำความผิด ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2552 นี้ถือว่าเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปี 2551 ที่ผ่านมาที่เป็นคดีอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ ไทยรัฐ
ที่มา
ไทยรัฐ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

5 วีดิโอยอดนิยมบนยูทูบ

ยูทูปเป็นเวปไซต์ที่สมาชิกสามารถโพสต์วิดีโอส่วนตัวหรือวิดีโอที่สมาชิกชื่นชอบ เผยแพร่ลงบนอินเทอร์เน็ต และเปิดโอกาสให้ผู้คนทั่วโลกเข้ามาชมวิดีโอได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งในปี 2009 นี้ได้จัดอันดับวิดีโอที่คนเข้ามาชมมากที่สุด 5 อันดับดังนี้

อันดับที่ 1 เป็นการปรากฏตัวครั้งแรกของ "ซูซาน บอยล์" ในรายการบริติซ ก็อท ทาเลนท์ (Britain's Got Talent) เป็นวีดิโอยอดนิยมประจำปี 2009 ที่ถูกคลิกเข้าไปชมมากที่สุดบนเว็บไซต์ยูทูบด้วยสถิติมากกว่า 120 ล้านครั้งทั่วโลก

อันดับ 2 เป็นวีดิโอชุด "เดวิด อาฟเตอร์ เดนทิสท์" David After Dentist ซึ่งเป็นเรื่องราวของเด็กชายหลังการเข้าพบหมอฟัน ด้วยจำนวนผู้เข้าชมมากกว่า 37 ล้านครั้ง
อันดับ 3 เป็นวีดิโองานแต่ง เจเค เวดดิ้ง เอ็นทรานซ์ แดนซ์ JK Wedding Entrance Dance ด้วยจำนวนผู้ชมมากกว่า 33 ล้านครั้ง
อันดับ 4 ตัวอย่างภาพยนตร์ไฟล์วีดิโอเรื่องนิวมูน New Moon Movie Trailer ด้วยจำนวนครั้งที่เข้าชมมากกว่า 31 ล้านครั้ง
อันดับ 5 โฆษณาน้ำแร่ เอเวียง ชุดเอเวียง โรลเลอร์ เบบี้ส์ Evian Roller Babies ด้วยจำนวนผู้เข้าชมมากกว่า 27 ล้านครั้ง ในปี 2009 เป็นปีที่มีการเข้าชมวีดิโอออนไลน์สูงสุดในรอบปี และเป็นครั้งแรกที่ยูทูบเปิดเผยรายชื่อวีดิโอยอดนิยมอย่างเป็นทางการ
ส่วนวีดิโอที่มีอัตราการเข้าชม เติบโตสูงสุดประจำเดือน ม.ค. ได้แก่ พิธีสาบานตนของประธานาธิบดีสหรัฐฯ (inauguration) เดือน ก.พ. ได้แก่ christain bale เดือน มี.ค. ได้แก่ the climb เดือน เม.ย. ได้แก่ susan boyle เดือน พ.ค. ได้แก่ pacquiao vs hatton เดือน มิ.ย. ได้แก่ micheal jackson thriller เดือน ก.ค. ได้แก่ micheal jackson เดือน ส.ค. ได้แก่ usain bolt เดือน ก.ย. ได้แก่ kanye west เดือน ต.ค. ได้แก่ paranormal activity เดือน พ.ย. ได้แก่ bad romance และเดือน ธ.ค. ได้แก่ tiger woods


ที่มา
ไทยรัฐ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

สุริยุปราคาวงแหวน


เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ประกาศว่า ในวันที่ 15 ม.ค. 2553 จะเกิดปรากฏการณ์ "สุริยุปราคาวงแหวน" มีเส้นทางของแนวคราสวงแหวนกว้างกว่า 300 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางของแนวคราสใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 45 นาที แนวคราสวงแหวนได้เริ่มต้นที่ทวีปแอฟริกา ผ่านประเทศสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ยูกันดา เคนยาและโซมาเลีย แล้วออกจากทวีปแอฟริกาเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย หลังจากนั้นจะผ่านเข้าสู่ทวีปเอเชีย ผ่านบังกลาเทศ อินเดีย พม่าและเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน
สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เป็นบริเวณกว้างตามบริเวณที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน เช่น ยุโรปตะวันออก ทวีปแอฟริกา เอเชียและประเทศอินโดนิเซีย
สำหรับประเทศไทยจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน และสามารถเห็นได้ทุกภูมิภาค โดยแต่ละภูมิภาคจะเห็นปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน ที่กรุงเทพฯ นั้นดวงจันทร์จะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่สัมผัสที่ 1 ในเวลาประมาณ 14.00 น. และสิ้นสุดเหตุการณ์ในเวลา 16.58 น. ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนในครั้งนี้จะเกิดนานที่สุดในภาคเหนือ คือ ประมาณ 3 ชั่วโมง 6 นาทีที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 77 ของพื้นที่ดวงอาทิตย์

ที่มาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลประจำเดือนพฤศจิกายน

รางวัลที่ 1 นายธีรพล มียิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

รางวัลชมเชย 2 รางวัล ดังนี้

1. น.ส.บุปผาพันธุ์ พวงบุปผา คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์-นาโน
2. นายสุทธิสักก์ สารี บัณฑิตร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE)

ผู้ที่รับรางวัลในเดือนพฤศจิกายนนี้กรุณาติดต่อกลับที่อีเมล kanita.sae@kmutt.ac.th ก่อนวันที่ 25 ธันวาคม 2552 เพื่อติดต่อนัดวันและเวลามารับของรางวัล มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ โดยนำสำเนาบัตรนักศึกษาพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้องมารับรางวัล

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ร่วมสนุกทายภาพประจำเดือนธันวาคม


กติกา
1. เขียนคำตอบให้ชัดเจน โดยทายภาพปริศนาทั้ง 4 ภาพนี้ อยู่ชั้นใดบ้างใน สำนักหอสมุด และอธิบายภาพอย่างสังเขป พร้อมเขียนชื่อ-สกุล ภาควิชา และ e-mail ส่งคำตอบได้ที่ kanita.sae@kmutt.ac.th
2. หมดเขตส่งคำตอบ 30 ธันวาคม 2552 ประกาศรายชื่อผู้โชคดีโดยแจ้งผลให้ทราบทาง e-mail และประกาศรายชื่อที่ http://klinics.blogspot.com
3. รางวัลประจำเดือนนี้ คือของที่ระลึกจากสำนักหอสมุดจำนวน 3 รางวัล หากมีผู้ตอบถูกมากกว่า 3 คนขึ้นไป จะใช้วิธีจับสลากตามลำดับ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กูเกิลเปิดตัว Google Maps ให้บริการในประเทศไทย


บริษัท กูเกิล อิงก์ ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.), องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.), บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้บริการ Google แผนที่(Google Maps)เพื่อวางแผนการเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆ ภายในกทม. ด้วยรถโดยสารประจำทางหรือรถยนต์ส่วนบุคคล รวมถึง บริการรายงานสภาพการจราจรและข้อมูลระบบขนส่งสาธารณะผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากข้อมูลตารางเวลารถประจำทางและรถไฟ ตำแหน่งที่ตั้ง และข้อมูลเส้นทางอย่างเป็นทางการ ทำให้กูเกิลสามารถให้ข้อมูลการจราจรได้แบบเรียลไทม์ อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ thairath
ที่มา
thairath

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมประจำเดือนธันวาคม


ทุกวันจันทร์ การสร้างและตกแต่ง Blogger
ทุกวันอังคาร เทคนิคการสืบค้นฐานข้อมูลด้านการวิจัยและวิทยานิพนธ์
ทุกวันพุธ การสร้างบรรณานุกรม ด้วยโปรแกรม End Note
ทุกวันพฤหัสบดี การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ Online Database System
ทุกวันศุกร์ เทคนิคการสืบค้นในเว็บไซด์ของสำนักหอสมุด

**หากนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากร ต้องการเข้าอบรมในหัวข้อใด สามารถแจ้งหัวข้อการอบรม ชื่อ-สกุล ผู้เข้าร่วมอบรม คณะหรือหน่วยงานที่สังกัด และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อมาที่ Kanita.sae@kmutt.ac.th

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ยูทูบใส่คำบรรยายอัตโนมัติเพื่อคนหูหนวก


ส่วนหนึ่งจากวิดีโอแนะนำบริการใส่คำบรรยายใต้ภาพวิดีโออัตโนมัติบนยูทูบ กรอบสีแดงซ้ายมือคือข้อความบรรยายที่ได้จากโปรแกรมแปลงเสียงเป็นข้อความ กรอบขวามือคือภาพวิดีโอต้นฉบับ กรอบเล็กกลางจอภาพคือภาษาที่ผู้ใช้ยูทูบสามารถเลือกได้ถึง 51 ภาษา ซึ่งมีภาษาไทยรวมอยู่ด้วยอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ manager

ที่มา
manager

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อสุดท้ายประจำเดือนพฤศจิกายน

ไพเพอรีนเป็นสารที่อยู่ในพริกไทย ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์มีรสเผ็ดแสบร้อนทำให้เกิดอาการจามอยากทราบว่าคุณสมบัติของไพเพอรีนนอกจากทำให้จามแล้วมีคุณสมบัติอื่นคืออะไร

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ ควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น แล้วสรุปคำตอบที่ชัดเจน โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

รายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดประจำสัปดาห์ที่สาม

1.นายสุทธิสักก์ สารี บัณฑิตร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE)
2.นายธีรพล มียิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3.น.ส.บุปผาพันธุ์ พวงบุปผา คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์-นาโน
4.นายเทวินทร์ อุ่นจิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
5.นายธีรพร วัฒนโสภา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

linoit กระดาษโน้ตออนไลน์ จดได้มากกว่าตัวอักษร

หาบทความที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังอยู่ดี ๆ ข่าวนี้ก็เข้าตาคนขี้ลืมอย่างผู้เขียนได้เป็นอย่างดี เลยเข้าไปอ่านดูแล้วพบว่าสีสันน่ารักมาก ๆ แบบนี้ต้องนำมาบอกต่อกันค่ะ linoit คือ เว็บไซต์ที่จำลองหน้าเว็บให้เป็นกระดานแผ่นใหญ่ ๆ สำหรับแปะโน้ตได้สารพัดรูปแบบและพิเศษไปกว่านั้นสามารถนำรูปภาพ ไฟล์ข้อมูล และวีดิโอเข้าไปได้ด้วย เจ้ากระดาษโน้ตออนไลน์ตัวนี้ยังเตือนความจำให้เจ้าของทาง E-mail ได้อีกต่างหาก เว็บไซต์ linoit สามารถใช้งานได้แบบฟรีๆ ทางเว็บจะให้พื้นที่เก็บโน้ตทั้งหมด 50 เมกะไบต์/เดือน สามารถแนบไฟล์เข้าไปกับแต่ละโน้ตในขนาดใหญ่สุดได้ 10 เมกะไบต์/เดือน เปิดให้คนอื่นเข้ามาโหลดไฟล์ได้ 10 ไฟล์/เดือน ค้นหาข้อมูลได้ย้อนหลัง 7 วัน ยังมีอีกค่ะ คือ linoit ยังอนุญาตให้เพื่อน ๆ ทั้งห้องมาช่วยกันแปะโน้ตต่าง ๆ บนกระดานแผ่นเดียวกันอีก แบบนี้แล้วทั้งงานเดี่ยวงานกลุ่มไม่ลืมแน่นอนค่ะ




ที่มา
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9520000122914

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

รายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดประจำสัปดาห์ที่สอง

1.นายธีรพล มียิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2.นายเทวินทร์ อุ่นจิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3.น.ส.บุปผาพันธุ์ พวงบุปผา คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์-นาโน และ นายสุทธิสักก์ สารี บัณฑิตร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE)
4.นายธีรพร วัฒนโสภา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

นักศึกษาสามารถสะสมคะแนนได้ต่อเนื่องในทุก ๆ สัปดาห์ หากนักศึกษาคนใดยังไม่เห็นรายชื่อของตนเองยังไม่ต้องเสียใจไปนะค่ะยังมีคำถามที่สองให้ร่วมเล่นสนุกอีกค่ะ รีบส่งคำตอบมาให้เร็วที่สุด อย่าลืมอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่พบคำตอบด้วยนะค่ะ และที่สำคัญควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น แล้วสรุปคำตอบที่ชัดเจน ขอให้โชคดีทุกคนค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ค้นพบน้ำบนดวงจันทร์


เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2552 ได้ค้นพบพบน้ำในถ้ำ “คาเบียส” (Cabeus) ซึ่งเป็นพื้นที่ในเงามืดบริเวณใกล้กับทางใต้ของดวงจันทร์

โดยยานเซนทอร์ (Centaur) ซึ่งเป็นจรวดท่อนบนของยานแอลครอสได้พุ่งตกกระทบถ้ำดังกล่าว แล้วทำให้เกิดฝุ่นละอองอยู่เบื้องล่างของถ้ำ ลักษณะของฝุ่นนั้นกระจายออกมาเป็นรูปดอกเห็ดที่มีอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรกในมุมสูงกว่าเป็นไอน้ำและฝุ่นละเอียดที่พุ่งขึ้นมา ส่วนที่สองในมุมต่ำำกว่าเป็นม่านหมอกของสิ่งที่มีหนักกว่า และสิ่งที่พุ่งขึ้นมานี้ไม่เคยเห็นแสงตะวันมาหลายพันล้านปีแล้ว อ่านต่อบทความฉบับเต็มได้ที่ manager

ที่มา
manager

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 3 ประจำเดือนพฤศจิกายน

นักวิทยาศาสตร์ชาวอิสราเอลได้พัฒนาโปรแกรมถอดรหัสอักษรที่เขียนด้วยมือ สามารถอ่านตัวอักษรที่เลือนรางจากหนังสือโบราณให้ชัดเจนขึ้น อยากทราบว่าหลักการใดที่ทำให้อ่านตัวอักษรได้ชัดเจนขึ้น

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ ควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น แล้วสรุปคำตอบที่ชัดเจน โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ฝนดาวตกเจมินิดส์


ฝนดาวตกเจมินิดส์ ( Geminids Meteor Shower ) หรือฝนดาวตกคนคู่เกิดขึ้นช่วงประมาณวันที่ 6 – 19 ธันวาคมของทุกปี และวันที่ตกจะตกมากที่สุดคือวันที่ 13 -14 ธันวาคม มีอัตราการตกประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมง

สำหรับในปีนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 ธันวาคม เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม สามารถสังเกตฝนดาวตกครั้งนี้ได้จากทางขอบฟ้าด้านทางทิศตะวันออกเฉียงขึ้นไปทางเหนือเล็กน้อยในกลุ่มดาวคนคู่ และในหลายประเทศทั่วโลกสามารถมองเห็นปรากฏการณ์ฝนดาวตก "เจมินิดส์" (Geminids) ประมาณ 30-40 ดวงต่อชั่วโมง

หากท่านใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่ คลังปัญญาไทย

ที่มา
คลังปัญญาไทย
kapook

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 2 ประจำเดือนพฤศจิกายน

ผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอะไรบ้าง และแนวทางในการป้องกันที่จะทำไม่ให้เกิดโรคได้คืออะไร

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ ควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น แล้วสรุปคำตอบที่ชัดเจน โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

รายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดประจำสัปดาห์แรก

1.นายธีรพล มียิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2.นายชัชพล พูลเพิ่มทรัพย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3.นายสุทธิสักก์ สารี บัณฑิตร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE)
4.นายธีรพร วัฒนโสภา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.น.ส.บุปผาพันธุ์ พวงบุปผา คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์-นาโน

นักศึกษาสามารถสะสมคะแนนได้ต่อเนื่องในทุก ๆ สัปดาห์ หากนักศึกษาคนใดยังไม่เห็นรายชื่อของตนเองยังไม่ต้องเสียใจไปนะค่ะยังมีคำถามที่สองให้ร่วมเล่นสนุกอีกค่ะ รีบส่งคำตอบมาให้เร็วที่สุด อย่าลืมอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่พบคำตอบด้วยนะค่ะ และที่สำคัญควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น แล้วสรุปคำตอบที่ชัดเจน ขอให้โชคดีทุกคนค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

พบจุดอ่อนเชื้อ "ไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์" ถูกทำลายได้ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

ทีมนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอลาบามาที่เบอร์มิงแฮม (University of Alabama at Birmingham) มลรัฐอลาบามา สหรัฐฯ ค้นพบจุดอ่อนของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ ว่าจะถูกทำลายเมื่อเจอสารต้านอนุมูลอิสระหรือแอนติออกซิแดนต์ (antioxidant) ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้ตีพิมพ์ลงในวารสารสหภาพสมาคมอเมริกันเพื่อการทดลองทางชีววิทยา (FASEB Journal) ฉบับเดือน พ.ย. 52 อ่านบทความเต็มได้ที่ ผู้จัดการออนไลน์



ที่มา
ASTVผู้จัดการออนไลน์ (2552). "พบจุดอ่อนเชื้อ "ไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์" ถูกทำลายได้ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ." Available : 6 พฤศจิกายน 2552.

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้จัดอย่างต่อเนื่องมา 5 ปีแล้ว ในปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 17-27 พ.ย. 52 โดยสถานที่ฉายภาพยนตร์ 5 แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ), องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คลอง 5 ปทุมธานี, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย, พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร และอุทยานการเรียนรู้ทีเค ปาร์คสำหรับท่านใดสนใจชมภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ goethe
ที่มา
goethe

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงได้รับการโหวตทางอินเตอร์เน็ตจากชาวจีน

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ที่ผ่านมา มีรายงานข่าวทางทางอินเตอร์เน็ตว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงได้รับการโหวตทางอินเตอร์เน็ตจากชาวจีนทั่วประเทศ ด้วยคะแนนกว่า 2 ล้านคะแนน ให้สมเด็จพระเทพฯ เป็นมิตรที่ดีที่สุดในโลกเป็นอันดับ 2 โดยมิตรที่ดีที่สุดในโลกที่ชาวจีนโหวตให้เป็นอันดับ 1 คือ ฮวน อันโตนิโอ ซามารานซ์ อดีตประธานโอลิมปิกสากล ชาวสเปน ที่เป็นผู้สนับสนุนให้จีนได้จัดกีฬาโอลิมปิกในปี 2008 หากท่านใดสนใจ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ไทยรัฐ
ที่มา
ไทยรัฐ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 1 ประจำเดือนพฤศจิกายน

รางวัลโนเบลเป็นรางวัลที่มอบให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานสาขาต่าง ๆ มีการประกาศในเดือนตุลาคมของ ทุกปี ท่านทราบหรือไม่ว่าในปี 2009 ที่ผ่านมามีใครได้รับรางวัลโนเบลในสาขาใดบ้าง

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วันลอยกระทง


วันนี้ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันลอยกระทง และเป็นประเพณีที่สืบสานกันมายาวนาน เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา

เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม

การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของคนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน โดยนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุด ที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืน

หากท่านใดสนใจเข้าร่วมประเพณีวันลอยกระทงแต่และไม่ทราบว่าจัดที่ใดบ้าง สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.loikrathong.net/

ที่มา http://www.loikrathong.net/

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

KLIN KM e-Magazine ฉบับที่ 2


ในฉบับที่ 2 ของ KLIN KM e-Magazine มีบทความที่น่าสนใจที่หลากหลายดังต่อไปนี้ค่ะ IT Tips โรคสำหรับคนใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน Bloom Taxonomy เป็นต้น หากท่านใดต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านบทความได้ที่ KLIN KM e-Magazine

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

การดาวน์โหลดรูปออกจาก Facebook

FacePAD เป็น addon บน Firefox ที่จะทำให้ดาวน์โหลดรูปภาพใน Facebook ได้ เพียงคลิกครั้งเดียวเท่านั้น แต่มีข้อแม้ว่าต้องดาวน์โหลด addon ตัวนี้มาก่อน และต้องใช้ Firefox ด้วย หลังจากดาวน์โหลด FacePAD มาแล้ว เมื่อไปที่หน้า addon คลิกที่ปุ่ม “Add To Firefox” ระบบจะยังไม่ส่งไปที่หน้าดาวน์โหลดแต่จะมาที่หน้าที่ผู้เขียนโปรแกรมตั้งไว้ให้คนช่วยบริจาคเพื่อการพัฒนาต่อ ๆ ไป ให้คลิก“Add To Firefox” เพื่อดำเนินการต่อระบบปรากฏหน้าแสดงรายละเอียดกติกาต่าง ๆ เมื่ออ่านข้อตกลงเรียบร้อยแล้วคลิกที่ “Accept and Install” เพื่อเริ่มการลงโปรแกรมนี้บน Firefox ระบบจะให้ยืนยันการติดตั้ง ให้คลิกที่ปุ่ม “ติดตั้งเดี๋ยวนี้” แล้วจะต้องทำการ restart firefox อ่านต่อบทความฉบับเต็มได้ที่บทความดาวน์โหลดรูปออกจาก Facebook

ที่มา
http://technology.impaqmsn.com/article.aspx?path=spec&rid=0&id=9430

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ชิงทุนการศึกษา 500 บาท


ในแต่ละสัปดาห์มีคำถามให้ร่วมสนุก สัปดาห์ละ 1 ข้อ (เดือนนี้มีทั้งหมด 4 ข้อ) ติดตามคำถามแต่ละสัปดาห์ ได้ที่นี้ ในทุกวันจันทร์
นักศึกษาสามารถส่งคำตอบได้ทั้ง 2 ช่องทาง คือ
1. KLINICS Blog ของสำนักหอสมุด
2. ส่งคำตอบทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) พร้อมเขียน ชื่อ-สกุล ภาควิชาคณะ และชั้นปี
การพิจารณาให้รางวัล พิจารณาจาก การส่งคำตอบได้ถูกต้อง (ทั้งหมด 4 ข้อ) เร็วที่สุด และมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ โดยเรียงลำดับคะแนนผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก แต่ละสัปดาห์ติดตามผู้ที่มีคะแนนสูงสุดได้ทางที่นี้ เท่านั้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน


ทุกวันจันทร์ เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการค้นข้อมูลจาก Search Engine
ทุกวันอังคาร เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการสืบค้นฐานข้อมูลด้านการวิจัยและวิทยานิพนธ์
ทุกวันพุธ เวลา 13.30-15.00 การสร้างบรรณานุกรม ด้วยโปรแกรม End Note
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.30-15.00 การสร้างสรรค์ปรับแต่งภาพเบื้องต้นด้วยโปรแกรม PhotoScape
ทุกวันศุกร์ เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการสืบค้นในเว็บไซด์ของสำนักหอสมุด

**หากนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากร ต้องการเข้าอบรมในหัวข้อใด สามารถแจ้งหัวข้อการอบรม ชื่อ-สกุล ผู้เข้าร่วมอบรม คณะหรือหน่วยงานที่สังกัด และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อมาที่ Kanita.sae@kmutt.ac.th

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เพราะอะไรทำไมเราต้องจามเมื่อเจอพริกไทย

สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เราต้องจามนั่นก็เพราะสารเคมีที่ชื่อ “ไพเพอรีน” (piperine) ที่อยู่ในพริกไทย ไพเพอรีนเป็นสารอัลคาลอยด์ที่มีรสเผ็ดแสบร้อนที่เป็นตัวทำให้ระคายเคือง

ส่วนการจามเกิดจากประสาทส่วนปลายที่เยื่อบุอ่อนต่าง ๆ ในช่องจมูกและปาก ได้รับรู้ว่ามีสิ่งผิดปกติมากระตุ้น จึงสั่งการให้ผลักดันสิ่งผิดปกติดังกล่าวออกไป นับเป็นปฏิกิริยาต่อต้านของร่างกายเพื่อป้องกันตนเองด้วยการจาม

นักวิทยาศาสตร์ไทยได้วิจัยเรื่องสารไพเพอรีน และพบว่ามีคุณสมบัติในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ จึงพยายามพัฒนาเป็นสเปรย์หยอดจมูก โดยจะสกัดสารในระดับนาโนเมตร เพื่อจะลดปฏิกิริยาต่อเยื่อบุต่างๆ ให้น้อยที่สุด

เมื่อเราจามในแต่ละครั้ง สิ่งต่าง ๆ ที่หลุดออกจากจมูกหรือปากจะเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะค้างวนเวียนอยู่ในอากาศได้นานเป็นวัน ๆ ที่สำคัญ เราจามแต่ละครั้งมีเชื้อโรคแพร่สู่อากาศถึง 20,000 ตัว

ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000126767

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

รางวัลโนเบลประจำปี 2009


ในเดือนตุลาคมของทุก ๆ ปีจะมีการประกาศผลรางวัลโนเบล และมีพิธีมอบรางวัลในวันที่ 10 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) ผู้ก่อตั้งรางวัลอันทรงเกียรตินี้ สำหรับในปีนี้ได้มีการประกาศผลรางวัลโนเบล ประจำปี 2009 ครบทุกสาขาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คือ

สาขาสรีรศาสตร์ หรือการแพทย์ ผู้ที่ได้รับรางวัลมีดังนี้ Elizabeth H. Blackburn, Carol W. Greider และ Jack W. Szostak ประกาศรางวัลเมื่อ 5 ตุลาคม 2552

สาขาฟิสิกส์ ผู้ที่ได้รับรางวัลมีดังนี้ Charles K. Kao Willard S. Boyle และ George E. Smith ประกาศรางวัลเมื่อ 6 ตุลาคม 2552

สาขาเคมีผู้ที่ได้รับรางวัลมีดังนี้ Venkatraman Ramakrishnan, Thomas Steitz และ Ada Yonath ประกาศรางวัลเมื่อ 7 ตุลาคม 2552

สาขาวรรณกรรมผู้ที่ได้รับรางวัลคือ Herta Müller ประกาศรางวัลเมื่อ 8 ตุลาคม 2552

สาขาสันติภาพผู้ที่ได้รับรางวัลคือ Barak Obama ประกาศรางวัลเมื่อ 9 ตุลาคม 2552

สาขาเศรษฐศาสตร์ผู้ที่ได้รับรางวัลมีดังนี้ Elinor Ostrom และ Oliver E. Williamson ประกาศรางวัลเมื่อ 12 ตุลาคม 2552

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://nobelprize.org/

ที่มา
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000117399
http://nobelprize.org/

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประักาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล

นางสาวเทพิน แซ่ลี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

กรุณาติดต่อกลับที่ e-mail kanita.sae@kmutt.ac.th เพื่อนัดวันและเวลารับของรางวัล และนำสำเนาบัตรนักศึกษาพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

รู้ทัน กล้องแอบถ่าย ก่อนเป็นเหยื่อรายต่อไป!

อ่านข่าวนี้แล้วคิดถึงน้อง ๆ ที่ต้องเช่าหอพักค่ะ คงจำกันได้ว่าหลายเดือนก่อนมีข่าวการนำกล้องไปแอบถ่ายในห้องเช่า เพราะเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีที่เล็กลงสะดวกสบายขึ้นก็ใช่ว่าคนทุกคนจะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางที่ดีเสมอไปเลยนำมาฝากให้รู้ทันและคอยสังเกตสิ่งรอบตัวด้วยค่ะ บทความนี้อาจจะช่วยให้น้อง ๆ ที่ต้องอยู่หอพักหรือห้องเช่ามีข้อสังเกตเพื่อความปลอดภัยกันมากขึ้นค่ะ อ่านบทความฉบับเต็ม

ที่มา
รู้ทัน กล้องแอบถ่าย ก่อนเป็นเหยื่อรายต่อไป!!, available :http://hitech.sanook.com/technology/news_13482.php [14 ตุลาคม 2552]

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

แนะนำ : ศูนย์จุลินทรีย์


ศูนย์จุลินทรีย์เป็นแหล่งกลางรวบรวม เก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์นอกถิ่นกำเนิด ที่มีประโยชน์ในการเกษตร อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้มาตรฐาน ISO 9001: 2000 นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยบริการด้านจุลินทรีย์ (service culture collection) แห่งเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดย UNESCO เมื่อปี พ.ศ. 2519 ให้ทำหน้าที่เป็นศูนย์ฯในระดับภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ และเป็นศูนย์เครือข่ายระดับโลก (UNESCO World Network of Microbiological Resources Centre -MIRCEN) ดำเนินกิจกรรมงานวิจัยและงานบริการด้่านจุลินทรีย์ เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรจุลินทรีย์อย่างยั่งยืน มีหน้าที่หลักในการให้บริการและทำงานวิจัย มีการทำบัญชีรายชื่อจุลินทรีย์ขึ้นทุกๆ 5 ปี ซึ่งปัจจุบันเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ.2543 และภายในสิ้นปีนี้จะทำการจัดพิมพ์ฉบับใหม่ซึ่ง เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 7 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมหรือเข้าไปอ่านบทความเกี่ยวกับจุลินทรีย์ได้ที่ ศูนย์จุลินทรีย์


ที่มา

http://www.tistr.or.th/mircen/#

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

3 ผู้สร้างแผนที่ "ไรโบโซม" สู่การพัฒนายาปฏิชีวนะรับโนเบลเคมี

นักวิทยาศาสตร์จากอินเดีย สหรัฐฯ และอิสราเอล จับมือกันคว้ารางวัลโนเบลสาขาเคมีปีนี้ หลังศึกษาไรโบโซมลงลึกถึงระดับอะตอม พร้อมสร้างแผนที่การทำงานของไรโบโซม ช่วยนักวิทย์รุ่นหลังรู้กลไกการสังเคราะห์โปรตีน ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ และเป็นฐานความรู้ สู่การพัฒนายาใหม่ที่มีเป้าหมายทำลายไรโบโซมของเชื้อโรค
อ่านต่อ

ที่มา

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000118707

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนภัยพายุ

ทางกรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนฉบับที่ 16 ว่าเมื่อเวลา 04.00 น.วันนี้หย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชัน “กิสนา (KETSANA)” ได้ปกคลุมบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี คาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศพม่าในระยะต่อไป ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบนยังคงมีฝนตกชุก โดยมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ และพื้นที่ลุ่มบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร พิจิตร ชัยภูมิ นครราชสีมา นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ระนอง และพังงา ระมัดระวังสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นได้
ที่มา http://www.tmd.go.th/

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วางแผง (ออนไลน์) KLIN KM e-Magazine ฉบับปฐมฤกษ์

KLIN KM e-Magazine ฉบับปฐมฤกษ์ผลงานของชาวห้องสมุด มจธ. วางแผง(ออนไลน์)แล้ว พบบทความเกี่ยวกับกิจกรรม Km ของห้องสมุด Facebook ฉลองครบรอบ 50 ปี ของ มจธ. และบุคลิกภาพของคนงานบริการ ฯลฯ แอบอ่านได้แล้ววันนี้ที่ http://www.lib.kmutt.ac.th/
อ่านแล้วชอบหรือไม่ชอบ อย่างไร บอกกันได้ค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

มุมมองใหม่ของ Twitter จาก Librarian Magazine

วันนี้คลิกเข้าไปอ่าน Librarian Magazine ฉบับล่าสุดเพื่อติดตามข่าวสารใหม่ในวงการบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์อ่านไปหลายบทความจนเกือบจะปิดหน้าต่างก็บังเอิญไปเห็นบทความด้านล่างสุดของหน้าเว็บคือเรื่อง “ละล่องท่องเว็บ ตอน เก็บ Twiiter ห้องสมุด” โดย ภณิดา แก้วกูร คลิกเข้ามาอ่านด้วยความอยากรู้ว่ามีห้องสมุดไหนบ้างหนอที่เลือก Twitter เป็นช่องทางการสื่อสารบ้าง ไม่นึกเลยว่า Twitter ห้องสมุด มด มจธ.ของเราก็มีโอกาสขึ้นไปเป็นหนึ่งในบทความนั้นด้วยเช่นกัน ในบทความนั้นเจ้าของบทความแอบชมมาว่า “ชอบที่นำ Twitter มาประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวของ Web หอสมุด , Facebook” คงต้องขอขอบคุณและแอบชมกลับทางผู้เขียนด้วยเช่นกันว่า ผู้เขียนมีวิธีเขียนบทความได้น่าสนใจและชวนให้ติดตามเช่นกันค่ะ ใครที่สนใจอยากเข้าไปอ่านบทความฉบับเต็มหรือเข้าไปดู Twitter ของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ สามารถคลิกเข้าไปอ่านต่อได้ที่
http://www.librarianmagazine.com

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิธีช่วยให้ PDF และ Photoshop ทำงานเร็วขึ้น

โปรแกรมเกือบทุกตัวของ Adobe เวลาเรียกใช้งานส่วนใหญ่มักช้าไปหมดแถมยังเปลือง memory เวลาใช้งานมาก เช่น Adobe PDF Reader และ Photoshop เพราะส่วนใหญ่เวลาเรียกใช้งานโปรแกรมจะ Download Plugin ทั้งหมดทำให้เสียเวลา วันนี้เลยมีวิธีช่วยให้โปรแกรมเหล่านี้ทำงานได้เร็วขึ้นค่ะ อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่
www.Sanook.com

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

BB คืออะไรกันหนอ?


BB กลายเป็นคำติดปากสำหรับบางคนไปแล้ว แต่บางคนยังคงสงสัยว่า BB คืออะไร อาจคิดไปว่าใช่ BB-Gun หรือเปล่า หรือ เป็นเครื่องสำอางค์จากต่างประเทศ หรืออาจจะเป็นสารสกัดจากผลไม้ ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัว BB ที่กำลังกล่าวถึง ซึ่งในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ BB ให้มากยิ่งขึ้นกันดีกว่าค่ะ

BB หรือเราอาจจะเรียกชื่อเต็ม ๆ ว่า Blackberry ก็ได้ค่ะ สามารถเรียกได้แบบเต็มหรือแบบย่อ จะเรียกแบบใดนั้นความหมายไม่ต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กัยความถนัดของแต่ละบุคคลอีกด้วย

BB เป็นยี่ห้อของเครื่องมืออุปกรณ์การสื่อสาร ผลิตโดย บริษัท Resaerch in Motion ( RIM ) ประเทศแคนนาดา เปิดตัวเมื่อปี 1999 นอกเหนือจากเมืองไทย ยังมีอีกกว่า 160 ประเทศทั่วโลกที่ใช้ และถึงปัจจุบันนี้มียอดขายไปแล้วกว่า 50 ล้านเครื่อง
ระยะแรกเมื่อปี 2001 BB เป็นเพียงเพจเจอร์ (Pager) ขนาดเล็ก ที่ผู้ใช้แต่ละคนสามารถพิมพ์ข้อความรับ-ส่งหากันได้เอง โดยมีหน้าจอขาวดำ แผงปุ่มกดเหมือนแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ และเล่นอินเทอร์เน็ตบนมือถือ (WAP) ยังไม่สามารถโทร.ออกได้
ปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก โดยจุดเด่นของ BB คือ การมีแผงปุ่มกดที่เป็นแป้นพิมพ์มาตรฐานเหมือนที่มีในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อความสะดวกในการพิมพ์ข้อความยาวๆ และส่งอีเมลหรือแชตเป็นเวลานานๆ นั่นเอง

จุดเด่น
1.เทคโนโลยีการรับอีเมลแบบ Push Mail
2.ระบบการแชตระหว่างผู้ใช้มือถือแบล็กเบอรีด้วยกันเอง (BlackBerry Messenger)
3.การออนไลน์เพื่อรับ-ส่งข้อมูลกับเครือข่ายอยู่ตลอดเวลา
4.มีความปลอดภัยสูง
5.หากผู้ใช้ทำเครื่องสูญหายสามารถระงับการใช้บริการได้ทันที

ผู้ให้บริการหลักในประเทศไทยรุ่นแรก ๆ คือ AIS และ truemove ปัจจุบันนี้ DTAC เข้ามามีส่วนแบ่งทางการตลาดอีก 1 เครือข่ายด้วย ทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ในแต่ละเครือข่ายมีหลากลายรุ่นและยี่ห้อแตกต่างกัน อีกทั้งมีแพกเก็จรับ-ส่งข้อมูลให้เลือกอีกด้วย ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกรุ่นได้ตรงความต้องการได้

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ขึ้นอยู่กับเราว่าควรเลือกใช้เทคโนโลยีชนิดใดบ้าง และความจำเป็นในการเลือกใช้ หากท่านใดสนใจสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ AIS truemove dtac

ที่มา
http://www.pdamobiz.com/forum/forum_posts.asp?TID=233249&PN=1&TPN=1

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เอาตาเขามาใส่ตาเรา ไปดูกันว่าสัตว์อื่นมองเห็นยังไง

ได้ไปไล่อ่านข่าวเก่าของเดือนก่อนแต่เห็นว่ามีความน่าสนใจเลยเก็บมาบอกกัน เคยสงสัยไหมว่าสิ่งที่เรามองเห็นกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ นั้นเหมือนกันไหม แล้วสัตว์บางอย่างที่ตาอยู่ด้านข้างบ้าง อยู่ด้านบนบ้างนั้นมองเห็นอะไรกันบ้าง
เมื่อได้อ่านข่าวบทความนี้เลยถือเป็นการไขข้อข้องใจที่แอบเก็บมาตั้งนานให้กระจ่างขึ้นเลยค่ะ แต่เสียดายที่นิทรรศการที่จัดนั้นเลิกไปแล้วเลยได้แต่อาศัยอ่านข่าวเท่านั้น อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่
www.manager.co.th

ที่มา
ASTVผู้จัดการออนไลน์, 2552, เอาตาเขามาใส่ตาเรา ไปดูกันว่าสัตว์อื่นมองเห็นยังไง, [online], Available: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000092858 [23 กันยายน 2552].

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายน

เรือดูโลส (Doulos) สร้างขึ้นในปี 2457 หลังเรือไททานิกเพียง 2 ปี และได้รับการบันทึกในกินเนสบุ๊คว่าเป็นเรือโดยสารเดินสมุทรซึ่งยังใช้การอยู่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นเรือลำเดียวที่เป็นร้านหนังสือลอยน้ำใหญ่ที่สุด มีหนังสือมากกว่าหนึ่งล้านเรื่อง โดยไปเยี่ยมเยือนประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า 100 ประเทศ ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาได้มาแวะเทียบท่าเรือคลองเตย ท่านทราบหรือไม่ว่าเรือดูโลสมาเยือนที่ประเทศไทยมาแล้วกี่ครั้ง และมาในปีพ.ศ.ใดบ้าง

เมื่อทราบคำตอบแล้วส่งคำตอบพร้อมแหล่งอ้างอิงข้อมูล มาที่ ทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ


รายละเอียดของรางวัล ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://klinics.blogspot.com/2009/08/blog-post_31.html

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

5 วิธีคิดอย่างคนเก่ง

เราทุกคนสามารถเป็นคนเก่ง ถ้าฝึกคิดให้สมองพัฒนาอยู่ตลอดเวลา วันนี้มี 5 วิธีเพื่อคิดอย่างคนเก่งมาให้อ่านกันค่ะ

1. มองโลกในแง่ดี
2. มีศรัทธาในตัวเอง
3. ขอท้าคว้าฝัน
4. ค้นหาบุคคลต้นแบบ
5. เริ่มต้นงานใหม่ทุกวันด้วยรอยยิ้มสดใส

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมอต่ละวิธีได้ที่
5 วิธีคิดอย่างคนเก่ง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

มุมมอง KLINICS3 จาก art4d

บทความที่นำมาให้ผู้อ่านอ่านนี้ เป็นบทความหนึ่งที่มีมุมมองต่อ KLINICS3 โดยนำบทความนี้มาจาก art4d ฉบับที่ 158 art4d เป็นนิตยสารการออกแบบที่บอกเล่าเรื่องการออกแบบตามอาคารในสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความน่าสนใจ และยังให้ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับด้านการออกแบบ เรามาฟังมุมมองของ art4d ที่มีต่อ KLINICS3 กันเลยค่ะ





หากผู้อ่านท่านใดสนใจ หรือต้องการที่อ่านฉบับเต็ม สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ art4d หรือต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกแบบสามารถเข้าไปอ่านได้เช่นเดียวกันค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามประจำสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนกันยายน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 15 ที่เป็นมหาวิทยาลัยไซเบอร์ของกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนมหาวิทยาลัยที่ได้อันดับ 1 ของกลุ่มคือมหาวิทยาลัยใด และหลักเกณฑ์ในการจัดอันดับคืออะไร แต่ละหลักเกณฑ์พิจารณาจากอะไรบ้าง

เมื่อทราบคำตอบแล้วส่งคำตอบพร้อมแหล่งอ้างอิงข้อมูล มาที่ ทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ



รายละเอียดของรางวัล ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://klinics.blogspot.com/2009/08/blog-post_31.html

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

อิสราเอลช่วยนักประวัติศาสตร์สร้างโปรแกรมถอดลายมือ อ่านได้แม้ตัวอักษรเลือนราง

นักวิทย์อิสราเอลพัฒนาโปรแกรมถอดรหัสอักษร ที่เขียนด้วยมือ แม้ตัวหนังสือเลือนรางก็ทำให้ชัดขึ้น จนอ่านได้ภายไม่กี่นาที ช่วยนักประวัติศาสตร์ย่นเวลาถอดความในหนังสือโบราณ หวังพัฒนาใช้ในห้องสมุดทั่วโลก ช่วยค้นหาเอกสารดิจิทัลที่เขียนด้วยลายมือได้ ติดตามรายละเอียดได้ที่ href="http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000103624">http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000103624



ที่มา
ASTVผู้จัดการออนไลน์, 2009, อิสราเอลช่วยนักประวัติศาสตร์สร้างโปรแกรมถอดลายมือ อ่านได้แม้ตัวอักษรเลือนราง, [online], Available: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000103624 [8 กันยายน 2552.].

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลประจำเดือนสิงหาคม

รางวัลที่ 1 นายเทวินทร์ อุ่นจิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

รางวัลชมเชย 2 รางวัล ดังนี้

1. นางสาวเทพิน แซ่ลี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
2. นายชัยวัฒน์ แก้วใหญ่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ผู้ที่รับรางวัลในเดือนสิงหาคมนี้กรุณาติดต่อกลับที่อีเมล kanita.sae@kmutt.ac.th ก่อนวันที่ 30 กันยายน 2552 เพื่อติดต่อนัดวันและเวลามารับของรางวัล มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ โดยนำสำเนาบัตรนักศึกษาพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้องมารับรางวัล

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามประจำสัปดาห์ที่ 1 ของเดือนกันยายน

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา ยานอวกาศ แคสซินี จับภาพดาวเสาร์เข้าสู่ช่วง อิควินอกซ์ ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้น 1 ครั้ง ใน 15 ปี ท่านทราบหรือไม่ว่า อิควินอกซ์คืออะไร และได้ค้นพบ อิควินอกซ์ ครั้งแรกในปีใด

เมื่อทราบคำตอบแล้วส่งคำตอบพร้อมแหล่งอ้างอิงข้อมูล มาที่ ทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ



รายละเอียดของรางวัล ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://klinics.blogspot.com/2009/08/blog-post_31.html

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

KlINICSวิชาการ

นักศึกษาท่านใดมีความประสงค์ขอคำปรึกษาในรายวิชาดังต่อไปนี้
1. ด้านการทำวิทยานิพนธ์
2. ด้านภาษาอังกฤษ
3. ด้านฟิสิกส์
4. ด้านคุณภาพชีวิตและความเป็นผู้นำ
สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่ห้อง KLINICS3 ห้องKM4 ชั้น 5 สำนักหอสมุด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

มาทำความรู้จักกับ Twitter กันดีกว่าค่ะ (ตอนที่ 2)

ในสัปดาห์ที่แล้วเราได้ทำความรู้จักกับ Twitter กันไปบ้างแล้ว ครั้งนี้เรามีไฟล์วิดีโอจากรายการแบไต๋ ไฮเทค - รายงานพิเศษ : Twitter บล๊อกสั้นๆ แต่ถึงใจ มานำเสนอซึ่งเป็นการแนะนำการใช้Twiter ซึ่งบอกถึงผลกระทบ ข้อดี และ ข้อเสียของการใช้ เชิญชมกันเลยค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

What is the future of the library?

I got this video file by msn. I think it’s very interesting especially for librarians so I present it here. I know the future will coming soon and library will change every service for net generation user.

Source

2009, What Is the Future of the Library?, [online], Available: http://www.youtube.com/watch?v=asYUI0l6EtE [1 Sep 2009].

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ตอบคำถามประจำเดือนกันยายน


ทุกๆสัปดาห์มีคำถามให้ร่วมสนุกกันเช่นเคยนะค่ะ สำหรับสัปดาห์นี้ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดสามารถเลือกรางวัลใดรางวัลหนึ่งได้ โดยติดตามคำถามได้ทางที่นี้หรือที่ป้ายประกาศห้องKLINICS ค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมประจำเดือนกันยายน

ทุกวันจันทร์ เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการค้นข้อมูลจาก Search Engine
ทุกวันอังคาร เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการสืบค้นฐานข้อมูลด้านการวิจัยและวิทยานิพนธ์
ทุกวันพุธ เวลา 13.30-15.00 การสร้างบรรณานุกรม ด้วยโปรแกรม End Note
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.30-15.00 การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์(ONline Database System)
ทุกวันศุกร์ เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการสืบค้นในเว็บไซด์ของสำนักหอสมุด
**หากนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากร ต้องการเข้าอบรมในหัวข้อใด สามารถแจ้งหัวข้อการอบรม ชื่อ-สกุล ผู้เข้าร่วมอบรม คณะหรือหน่วยงานที่สังกัด และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อมาที่ Kanita.sae@kmutt.ac.th

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

มาทำความรู้จักกับ Twitter กันดีกว่าค่ะ

ผู้อ่านที่เคยได้ใช้หรือยังไม่ได้ใช้ตัว Twitter นี้ เคยทราบหรือไม่ว่าโปรแกรมนี้มีที่มา และความเป็นไปอย่างไรบ้าง เราลองมาทำความรู้จักกับ Twitter กันดีกว่าค่ะ Twitter เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ จัดอยู่ในประเภท ไมโครบล็อก ก่อตั้งโดยบริษัท obvious corp เมื่อเดือนมีนาคม 2006 ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา มีสัญลักษณ์ให้คนติดตาคือนกนั่นเอง และสีโทนหลักของเว็ปเป็นสีฟ้า


จวบจนทุกวันนี้เพียงไม่กี่ปี twitter สามารถครองใจผู้ใช้ทั่วโลกตั้งแต่อายุ 25-54ปี (สถิติอ้างอิงจากมอร์แกน แสตนลีย์) เนื่องจากใช้งานง่าย ขั้นตอนการใช้ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนทำให้เข้าถึงคนจำนวนมากได้อย่างง่ายดาย โดยผู้ใช้พิมพ์ข้อความสั้นๆ และส่งข้อความ (tweet) ไม่เกิน 140 ตัวอักษร สามารถติดตาม (follow) เพื่อน หรือ ติดตามคนที่เราชื่นชอบว่าขณะนี้เขากำลังทำอะไร อยู่ที่ไหน และยังทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางทัศนคติมากขึ้นระหว่างผู้ใช้ Twitter


บริษัทวิจัยตลาด "เพียร์ แอนาลิติก" ได้สำรวจผู้ใช้ Twitter ในสหรัฐอเมริกาว่าวัตถุประสงค์ของการใช้ของคนอเมริกัน คืออะไร

1. ต้องการโปรโมตตัวเอง 3.75 %
2. พิมพ์ข้อความอื่นๆที่ไร้จุดหมาย 40.5 %
3. สนเทนาระหว่างผู้ใช้ Twitter 37.5%
4. พิมพ์ข่าวสารที่มีเนื้อหาสาระ 8.75%

ในส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของความคิดเห็นของผู้ใช้กลุ่มหนึ่งเท่านั้น การใช้มีทั้งข้อดีและข้อเสียขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่ามีวัตถุประสงค์ของการใช้ไปในแนวทางใด เพื่ออะไร และเพื่อใคร และทำอย่างไรเราจะใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเราให้ได้มากที่สุดค่ะ


ที่มา

ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย.(25 สิงหาคม 2552). Twitter Marketing กรณีศึกษาจากหนังสือ รวมฮิต Twitter.
ผู้จัดการรายสัปดาห์: หน้า D4.

ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์.(25 สิงหาคม 2552). คนใช้ทวิตเตอร์ส่วนใหญ่ใช้พล่ามเพ้อเจ้อไปวันๆ. มติชนสุดสัปดาห์: หน้า 100.

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

แนะนำ BLOG ด้านวิทยาศาสตร์

วันนี้ตอนบ่ายมีอบรมฐานข้อมูล Nature ระหว่างเข้าเว็บไซต์ของ Nature ก็เหลือบไปเห็น Link Blog ก็คลิกเข้าไปดูพบว่ามีเรื่องราวน่าสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์มากมาย ในบล็อกแบ่งเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ Bioinformatics, Chemistry, Clinical Practice & Research, Earth & Environment, Life Sciences, Neuroscience, Physics,Science and Society
ในแต่ละหัวข้อก็ยังมีบทความหรือประเด็นใหม่ที่น่าสนใจให้ update มากมาย นอกจากนั้นยังมี Blog เรื่องอื่น ๆ แนะนำด้วยสนใจแล้วใช่ไหมคะงั้นคลิกเลยค่ะ
Nature Blogs

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพบรรยากาศการเยี่ยมชมของคณะนักเรียนในโครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

วันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะนักเรียนในโครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าเยี่ยมชมสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มาชมภาพบรรยากาศกันเลยค่ะ



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อสุดท้ายประจำสัปดาห์

ธาตุ copernicium หรือ Cp ที่ถูกค้นพบใหม่ และเพิ่งได้รับการเติมลงในตารางธาตุเป็นลำดับที่ 112 เมื่อไม่
นานมานี้ มีที่มาจากชื่อของใคร และนักวิทยาศาสตร์ผู้นั้นมีความสำคัญหรือเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์เรื่องใด

เมื่อทราบคำตอบแล้วส่งคำตอบมาที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

*ขอย้ำนะค่ะเมื่อส่งคำตอบมาแล้วอย่าลืมอ้างแหล่งอ้างอิงที่เราหาคำตอบมาด้วย เพราะมีน้อง ๆ บางคนไม่ได้อ้างแหล่งมาทำให้เสียสิทธิ์การได้รับรางวัล ก่อนส่งตรวจทานคำตอบให้เรียนร้อยเสียก่อน ขอให้โชคดีทุกคนนะค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Learning Spaces for Net Generation: A Case Study at KMUTT's Library

King Mongkut’s University of Technology Thonburi

(KMUTT) has developed suitable common space for promoting life-long learning (self-directed and collaborative learning) called KMUTT’s Learning and Information Commons (KLINICS). In 2005, the first phase, KLINICS1, was established under the concept “a home away from home for learning” to provide information, technology and social to students in a comfortable, homelike space. KLINICS1 obtained good response from users, so KLINICS2 (which is similar to KLINICS1) was installed in KMUTT’s Bangkhuntien campus; however, KLINICS2 obtained less appreciation as it may not meet the needs of users at the campus. In 2008, KLINICS3 was established to emphasize more on promoting collaborative learning and inspiration through socialization. To evaluate the outcome of KLINICS3, the survey of user satisfaction was conducted between 1 April 2009 and 12 May 2009. The results showed that the average of mean user satisfaction is 3.97 out of 5.00. Other supportive information, such as the motivation and inspiration of learning, was also collected for planning learning spaces for not only net generation learners but also general users in the future.


You can read Full text : Full text

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Events in August

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

KMUTT in the World Ranking

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 15 ที่มีผลงานบนโลกออนไลน์ยอดเยี่ยมหรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นมหาวิทยาลัยไซเบอร์ ในโซนของกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) ส่วนมหาวิทยาลัยที่ได้อันดับ 1ของกลุ่ม ได้แก่ National University of Singapore หลักเกณฑ์การจัดอันดับจะประกอบด้วยปัจจัย 4 ปัจจัย ได้แก่
Size, Visibility, Rich และ Scholar
Size = จำนวน Pages ที่พบจาก Search Engines
Visibility = จำนวน External Links
Rich = จำนวนไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
Scholar = จำนวน Paper จาก Web Databases



ที่มา

Webometrics Ranking, 2009, Ranking Web of World Universities, [online], Available: http://www.webometrics.info/top100_continent.asp?cont=SE_Asia [20 August 2009].

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

DOULOS ร้านหนังสือลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เรือดูโลสสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1914 มีความเก่าแก่น้อยกว่าเรือไททานิกเพียงแค่ 2 ปี ควบคุมดำเนินงานโดยอาสาสมัครคริสเตียนกว่า 330 คนจากทั้งหมด 50 ประเทศ เรือ Doulos นี้ได้ถูกขนานนามว่าเป็นเรือเพียงลำเดียวที่เป็นร้านหนังสือลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุด ที่มีหนังสือมากกว่า หนึ่งล้านเรื่อง จาก 50 ผู้แต่ง
หัวหน้าวิศวกร นายDominic Bothelo ชาวอินเดีย ได้กล่าวถึงพันธกิจบนเรือว่า ชื่อ Doulos นั้นเป็นภาษากรีก แปลว่า การรับใช้ และใน Doulos นั้นกุญแจสำคัญก็คือ การรับใช้พระเจ้า และมนุษย์ โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ “ที่นี่เราทำงานทั้ง 24 ชั่วโมงในหนึ่งอาทิตย์ เมื่อบางคนหลับอยู่ คนที่เหลือทำงาน ในความเป็นจริงนั้น การรับใช้ เป็นคติพจน์สำหรับที่นี่ และเรามีความสุขในเรื่องนี้มาก” วิศวกร Bothelo ยังกล่าวอีกว่า พระเจ้าได้ใช้พันธกิจของเรือนำไปสู่วิญญาณของคนเป็นล้านคนทั่วโลก เช่น ในประเทศฟิลิปปินส์ พระเจ้าได้ใช้พวกเขาใน 5 เดือนที่ผ่านมา เพื่อเป็นการนำไปสู่ผู้ที่ต้องการในประเทศ “เราได้เดินทางไปยังคริสตจักรสองสามแห่ง และสถานที่แห่งการนมัสการและสามัคคีธรรม เพื่อที่จะประกาศความรักของพระเจ้า และมีหลายคนที่ได้ให้ชีวิตของพวกเขาแก่พระเจ้า”
“เราทุกคนสนับสนุนตนเอง ตั้งแต่กัปตันเรือไปจนถึงลูกเรือทุกคน เราทุกคนได้เงินเดือนคือศูนย์ (zero salary) โดยส่วนตัวผมทำงานเป็นอาสาสมัครบนเรือนี้มาตลอด 7 ปีแล้ว โดยการจัดการทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรม” เขากล่าวว่า เป็นประเพณีของเรือดูโลส ในการที่จะบริจาคหนังสือให้กับโรงเรียน และแม้แต่หน่วยงานราชการของประเทศนั้น ๆ ที่เรือไป โดยในเร็ว ๆ นี้ทางเรือได้บริจาคหนังสือในจำนวนมากให้กับรัฐบาลและประชาชนของติมอร์จะวันออก ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพระเจ้าได้ใช้พวกเขาให้แจกพระคัมภีร์ฟรีแก่คนในเขต Middle Belt ใน2ปีที่ผ่านมา
เรือ Doulos จะเทียบท่าที่ท่าเรือคลองเตยท่าที่ 1 ระหว่าง วันที่ 30 กรกฎาคม - 23 สิงหาคม 2552 บนเรือมีกิจกรรมหลากหลายทั้งหนังสือประเภทต่าง ๆ ให้เลือกสรรหนังสือกว่า 6,000 รายการ เป็นเนื้อหาด้านกีฬา งานอดิเรก ตำราประกอบอาหาร ศิลปะ ความรู้วิชาการ หนังสือคริสเตียน และยังรวมไปถึงหนังสือสำหรับเด็กที่มีจำหน่ายวางบนตู้โชว์ หนังสือทั่วไปในราคาพิเศษ นอกจากนั้นยังมี CD เพลงมากมายให้เลือกซื้อกลับไปฟังด้วยค่ะ อ้อ...ค่าเงินบนเรือใช้เป็น Unit ค่ะ 100 Unit เท่ากับ 80 บาทไทย หรือใครจะไปเอาหนังสือฟรีก็ได้ แค่ซื้อกระเป๋าผ้า Doulos ราคา 50 บาท ก็สามารถเลือกหนังสือฟรีใส่กระเป๋าให้เต็มกลับไปได้เลย ถ้ามีเวลาว่างก็ไปเยี่ยมชมได้นะคะ เจ้าหน้าที่บนเรือแม้จะเป็นชาวต่างชาติแต่ก็มีรอยยิ้มและพร้อมจะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ค่ะ มีโอกาสไปเมื่อวันอาทิตย์ 16 มีนาคม เลยเก็บภาพบรรยากาศบางส่วนมาฝากกัน หากใครได้ไปมาแล้วหรือกำลังจะไปก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ อีกอย่างค่าตั๋วขึ้นเรือแค่ 10 บาทเท่านั้นพลาดไปแล้วต้องรออีกหลายปีนะคะกว่าเรือจะกลับมาเยี่ยมเราอีกครั้งหนึ่ง หรือเข้าไปเยี่ยมชมที่เว็บไซต์ Doulos











ที่มา
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2009, เรือดูโลส (Doulos) [online], Available: http://thai.tourismthailand.org/festival-event/content-6856.html [18 สิงหาคม 2552].
ฐานา วิบูลย์ภาณุเวช, 2009, เรือ Mv Doulos [online], Available: http://www.peterdreamland.com/content/index.php?option=com_content&task=view&id=1070&Itemid=53 [18 สิงหาคม 2552].

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ช่องทางการติดต่อสำหรับนักศึกษามจธ.

ตอนนี้เทคโนโลยีก้าวไกลไปมากขึ้น พี่ๆบรรณารักษ์ต้องอับเดตให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ กัน ตอนนี้น้องๆ สามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งบนหน้าเวบหลักของมหาวิทยาลัยKMUTT เวบห้องสมุดKMUTT Library Twitter และที่ขาดไม่ได้คือบลอกของเรา KLINICS KMUTT Libraryตอนนี้ทางเรายังมีFace Book ให้เราได้ติดตามข่าวสารของกิจกรรมในห้องสมุดอีกช่องทางหนึ่งด้วยคะ แต่น้องๆต้องทำการสมัครFace Book ซะก่อนนะคะ ไม่ยังงั้นไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ทุกๆข่าว ทุกๆกิจกรรม จะคอยอับเดตอยู่ตลอดเวลาค่ะ หรือน้องๆมีคำปรึกษา หรือคำถามใดๆ สามารถ chatมาคุยกันผ่านทาง klinics@hotmail.com ได้เลยค่ะ พี่ๆบรรณารักษ์ยินดีตอบทุกคำถามนะค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 3

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ที่ผ่านมาเกิดปรากฏการณ์"สุริยุปราคาบางส่วน" (Patial Solar Eclipse) ในช่วงเวลา
ประมาณ 07.00 - 09.00 น. จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น จริง ๆ แล้ว ท่านทราบหรือไม่ว่าสุริยุปราคามีกี่ประเภท

เมื่อทราบคำตอบแล้วส่งคำตอบมาที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ดิวอี้ : เจ้าเหมียวในห้องสมุด

เมื่อวานเข้าไปอ่านวารสารโดมทัศน์ฉบับล่าสุด เพราะเห็นว่ามีเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุดต่าง ๆ ในประเทศออสเตรเลีย ทันทีที่กวาดสายตาลงไปพบบทความนี้ ต้องยอมรับว่าเรียกความสนใจได้มากจนต้องไปอ่านบทความนี้ก่อนบทความอื่น ๆ ที่ตั้งใจจะเข้ามาอ่านในตอนแรกเสียอีก บทความนี้ชื่อว่า “ดิวอี้ เหมียวสมุด” แปลและเรียบเรียงโดย ชูมาน ถิระกิจ (บรรณารักษ์ 8 ประจำฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) แมวตัวนี้ถูกพบโดย วิกกี้ ไมรอน หัวหน้าห้องสมุดประชาชน เมืองสเปนเซอร์ ในตอนแรกก็ไม่เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้เท่าใด แต่ในที่สุดด้วยความน่ารัก รู้อยู่ของดิวอี้ก็สามารถชนะใจผู้ใช้ที่เข้ามาอ่านหนังสือในห้องสมุด โดยเฉพาะเด็กที่ให้ความสนใจเข้ามาเล่นด้วยอยู่บ่อยครั้ง ดิวอี้ทำหน้าที่แมวห้องสมุดที่ช่วยให้ผู้ใช้มีรอยยิ้ม หรือแม้แต่พาไปที่ชั้นหนังสือนวนิยายถึง 19 ปีเต็ม แม้กระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ติดตามความน่ารักและเรื่องราวของเจ้าเหมียวแบบเต็ม ๆ ได้ที่ ดิวอี้ เหมียวสมุด หรือเข้าไปคุยกับ วิกกี้ ไมรอน ได้ที่ http://spencerlibrary.com/deweybio.htm และ http://www.facebook.com/DeweyTheBook

ฝากคลิปวีดิโอน่ารัก ๆ ของ ดิวอี้ให้ชมกันค่ะ





ที่มา
ชูมาน ถิระกิจ,2552,"ดิวอี้ เหมียวสมุด",วารสารโดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๒,หน้า 64-70.

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมประจำเดือนสิงหาคม



ทุกวันจันทร์ เวลา 13.30-15.00 การสร้างและตกแต่ง Blog
ทุกวันอังคาร เวลา 13.30-15.00
เทคนิคการสืบค้นฐานข้อมูลด้านการวิจัยและวิทยานิพนธ์
ทุกวันพุธ เวลา 13.30-15.00
เทคนิคการค้นข้อมูลจาก Search Engine
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.30-15.00
การสร้างสรรค์ปรับแต่งภาพเบื้องต้นด้วยโปรแกรม PhotoScape
ทุกวันศุกร์ เวลา 13.30-15.00
การสร้างบรรณานุกรม ด้วยโปรแกรม End Note การถ่ายโอนข้อมูล

**หากนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากร ต้องการเข้าอบรมในหัวข้อใด สามารถแจ้งหัวข้อการอบรม ชื่อ-สกุล ผู้เข้าร่วมอบรม คณะหรือหน่วยงานที่สังกัด และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อมาที่ Kanita.sae@kmutt.ac.th

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยซิดนีย์ : Animationสอนการค้นหนังสือ

วันนี้ค้นเว็บไซต์ห้องสมุดของประเทศออสเตรเลียเพื่อหาข้อมูลกิจกรรม คลิกไปคลิกมาเข้ามาที่เว็บไซต์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney Library) ลองคลิกเข้ามาดูเรื่องของกิจกรรมของห้องสมุด เห็นว่าห้องสมุดนี้มีกิจกรรมการสอนทักษะการรู้สารสนเทศรูปแบบ Animation ที่น่าสนใจ เลยนำมาให้ชมกัน ไม่แน่ในอนาคตเว็บไซต์ห้องสมุด มจธ. อาจมี Animation การแนะนำการใช้ห้องสมุดก็ได้นะคะ ส่วน LINK ที่นำมาให้ชมเป็นการค้นหาหนังสือในห้องสมุดที่กึ่ง ๆ การเล่นเกมคือผู้ชมมีส่วนร่วมในการช่วยตอบคำถามหรือช่วยค้นด้วยค่ะ นอกจากนั้นยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กันเช่น การอ้างอิง การค้นหาบทความวารสารจากฐานข้อมูล เป็นต้น






ดังนั้นใครที่สนใจสามารถเข้าไปชม Animation ได้ที่ University of Sydney Library



ที่มา
http://elearning.library.usyd.edu.au/learn/

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 2 ประจำสัปดาห์

Search Engine ของไมโครซอฟท์ ภายใต้ชื่อ "บิง : Bing.com" ที่ถูกพัฒนาจาก Live Search มีจุดเด่นพิเศษ
อย่างไรในการค้นหาข้อมูล

เมื่อทราบคำตอบแล้วส่งมาที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Be our commentator?

นับตั้งแต่ลงบทความครั้งแรกประมาณเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วจนถึงวันนี้ KLINICS ได้นำเสนอบทความข่าวสาร กิจกรรมและสาระต่าง ๆ รวมแล้วร้อยกว่าบทความ เผยแพร่มาแล้วเกือบ 10 เดือน ทาง KLINICS เลยอยากทราบว่าชาวมดทั้งหลายมีความรู้สึกอย่างไร มีคำแนะนำหรืออยากให้ KLINIC BLOG ปรับเปลี่ยนรูปแบบอย่างไร ต้องการให้จัดกิจกรรมแบบใด นำเสนอข้อมูลหรือข่าวสารด้านไหนเพิ่มเติมใน BLOG ของ KLINICS หนึ่งความคิดเห็นของคุณเป็นเสียงที่ยิ่งใหญ่สำหรับเราชาว KLINICS มากเลยนะคะ KLINICS มีของที่ระลึกมอบให้สำหรับผู้แสดงความคิดเห็น 10 ท่านแรก สามารถแสดงความคิดเห็นของคุณผ่านทาง BLOG หรือ Kanita.sae@kmutt.ac.th .....ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำแนะนำดี ๆ ค่ะ .....

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี : วิทยาศาสตร์ในความเป็นไทย


เมื่อเช้าอ่านพบบทความเรื่อง วิทยาศาสตร์ที่ซ่อนในพิพิธภัณฑ์จ่าทวี จาก manager online แล้วก็พบว่าของเก่าสมัยก่อนแฝงไว้ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างน่าทึ่ง เลยนำมาให้เล่าให้ฟัง ของใช้ในชีวิตของคนสมัยเก่าถือเป็นภูมิปัญญาที่น่าสนใจมาก ๆ เช่น กล่องตาแมว ใช้สำหรับจับหนูนาเพื่อมาทำอาหาร แต่ภายในกล่องมีไลที่แยลยลซ่อนตัวอยู่ เพราะในกล่องแบ่งออกเป็น 4 ช่อง โดย 2ช้องด้านหน้ามีกลไลไม้กระดก และ 2 ช่องด้านหลังเป็นที่สำหรับขังหนูที่วิ่งเข้ามาติดกับในกล่อง คือ เมื่อหนูวิ่งเข้ามากินอาหารที่วางล่อไว้ น้ำหนักของหนูจะทำให้ไม้กระดกเอียง และฝาไม้กลม ๆ จะกลิ้งไปปิดช่องที่หนูตัวนั้นเพิ่งวิ่งเข้าไป ซึ่งพฤติกรรมของหนูจะไม่วิ่งถอยหลังแต่วิ่งไปข้างหน้าแล้วติดอยู่ภายในกล่อง กลไกในกล่องนี้นี้จะทำงานสลับซ้าย-ขวา ตามจำนวนหนูที่วิ่งเข้าไปติดกับ ทำให้สามารถจับหนูได้หลาย ๆ ตัวด้วยกล่องเพีงแค่ใบเดียว ยังมีอุปกรณ์ที่น่าสนใจหลายชิ้นแต่กลัวว่าจะสรุปไม่ได้ใจความ ดังนั้นใครที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านต้นฉบับได้ที่ วิทยาศาสตร์ที่ซ่อนในพิพิธภัณฑ์ "จ่าทวี" หรือเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีเพื่อเข้าไปชมนิทรรศการออนไลน์ได้เลยค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

แฮคเกอร์ถล่ม"ทวิตเตอร์"

เมื่อเช้าวันพฤหัสที่ผ่านมา เว็ปไซด์โซเชียลเน็ตเวิร์ก ทวิตเตอร์(Twitter) ที่มีผู้ใช้ทั่วโลกประมาณ 35 ล้านคน ไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลานานกว่าสามชั่วโมง รวมถึงโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างเฟซบุ๊ก(Facebook) และไลฟ์เจอนัล(LiveJournal) โดยถูกโจมตีด้วย DoS (Denial-of-Service)



ทำให้ผู้ใช้บริการทั้งสามไซต์กว่า 300 ล้านรายไม่สามารถเข้าใช้บริการได้ DOS เป็นกลไกการโจมตี โดยแฮคเกอร์จะใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ตามบ้าน และที่ทำงานที่ติดบอตเน็ต (Botnets) หรือโปรแกรมของแฮคเกอร์กว่าหลายพันเครื่องเข้าไป ให้ลุกขึ้นมาทำงานพร้อมกัน โดยร้องขอใช้บริการจากเว็บไซต์เหล่านี้อย่างหนักจนกระทั่งระบบไม่สามารถให้บริการได้

ซึ่งผู้ใช้รายหนึ่งกล่าวว่า เขารู้สึกเหมือนถูกตัดขาดจากเพื่อนๆ นับร้อยบนทวิตเตอร์ และหันไปใช้เฟซบุ๊ก และอีเมล์แทนในช่วงเวลาดังกล่าว

ผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วโลกจะไม่สามารถใช้บริการได้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง หลังจากใช้งานได้แล้ว บริการดังกล่าวกลับไม่สามารถเข้าถึงจากทางไอโฟน หรือผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่มประเทศทางฝั่งยุโรปตะวันออก Stephan Tanase นักวิเคราะห์อาวุโสจา Kasperksy Lab "มันเป็นการโจมตีที่รุนแรงมาก" เขากล่าว

ทางด้านเฟซบุ๊กทีมีผู้ใช้บริการมากกว่า 250 ล้านรายจะมีผู้ใช้บางส่วนที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับประสิทธิภาพการให้บริการที่ลดลง

ส่วนไลฟ์เจอนัลทีมีผู้ใช้ 21 ล้านรายถูกตัดขาดการให้บริการเป็นเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง สำหรับการโจมตีที่เกิดขึ้นครั้งนี้ต้องถือว่า ร้ายแรงที่สุดตั้งแต่พบในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2000 เมื่อแฮคเกอร์วัย 15 ปีที่รู้จักกันในนาม Mafiaboy ได้สั่งให้เครือข่ายบอต (โปรแกรมเล็กๆ ที่สั่งการได้ของแฮคเกอร์ ซึ่งกระจายติดอยู่ตามคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันบนเน็ต) ถล่มแทรฟฟิกจนทำให้เว็บไซต์ดังๆ ในสมัยนั้นหลายแห่งอย่าง Yahoo, eBay, Amazon.com, Etrade, ZDNET และ CNN ไม่สามารถให้บริการได้

เมื่อเดือนก่อน มีการโจมตีด้วยเทคนิค DoS เช่นกัน จนทำให้เว็บไซต์ต่างๆ ของรัฐบาล รวมถึงเว็บไซต์ธุรกิจในสหรัฐ และเกาหลีใต้ต้องชะงักไป ซึ่งประเทศที่ถูกต้องสงสัยว่าน่าจะเป็นต้นเหตุของการก่อการครั้งนี้ก็คือ เกาหลีเหนือ ในการโจมตีครั้งนี้ยังได้มีการสั่งให้บ็อตกว่า 40,000 ตัวทำการลบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จนทำให้คอมพิวเตอร์ใช้งานไม่ได้อีกด้วย

Roger Thompson นักวิจัยจาก AVG บริษัทผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์กล่าวว่า การกระทำที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้ เหมือนจะเป็นความพยายามสร้างความสนใจให้ทั่วโลกหันมามองปัญหาที่เกิดจากบ็อตเน็ต ซึ่งหากคาดการณ์โดยประมาณ 40% ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเน็ต อาจตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอาชญากรคอมพิวเตอร์ ผู้สามารถเรียกใช้พวกมันให้กระทำการใดๆ ตามที่ต้องการได้

ที่มา http://www.arip.co.th/news.php?id=409664

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกาศรายชื่อผู้โชคดีประจำเดือนกรกฎาคม

รางวัลที่ 1 นายชัชพล พูลเพิ่มทรัพย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่
นายชัยวัฒน์ แก้วใหญ่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
นายมงคล ตั้งโอฬาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศกรมมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

ผู้ที่มีรายชื่อดังต่อไปนี้ กรุณาติดต่อกลับได้ที่ kanita.sae@kmutt.ac.th ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 1 ประจำเดือนสิงหาคม

สัตว์ทดลองที่ใช้ในการทดลองวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 คือสัตว์ชนิดใด และเหตุใดจึงต้องใช้สัตว์ชนิดนี้เป็นสัตว์ทดลอง

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ร่วมสนุกตอบคำถามประจำเดือนสิงหาคม

ในแต่ละสัปดาห์มีคำถามให้ร่วมสนุก สัปดาห์ละ 1 ข้อ (เดือนนี้มีทั้งหมด 4 ข้อ) ติดตามคำถามแต่ละสัปดาห์ ได้ที่นี้ ในทุกวันจันทร์
เริ่มร่วมสนุกตั้งแต่ วันที่ 3 ส.ค. 52 เป็นต้นไป
รางวัล ทุนการศึกษา 500 บาท 1 รางวัล
และของที่ระลึกจากสำนักหอสมุด 2 รางวัล
นักศึกษาสามารถส่งคำตอบได้ทั้ง 2 ช่องทาง คือ
1. KLINICS Blog ของสำนักหอสมุด
2. ส่งคำตอบทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) พร้อมเขียน ชื่อ-สกุล ภาควิชาคณะ และชั้นปี
การพิจารณาให้รางวัล พิจารณาจาก การส่งคำตอบได้ถูกต้อง (ทั้งหมด 4 ข้อ) เร็วที่สุด
และมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ โดยเรียงลำดับคะแนนผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก
แต่ละสัปดาห์ติดตามผู้ที่มีคะแนนสูงสุดได้ทางที่นี้ เท่านั้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

รายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดประจำสัปดาห์ที่สาม

1.นายธีรพล มียิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์
2.นายชัชพล พูลเพิ่มทรัพย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3.นายชัยวัฒน์ แก้วใหญ่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
4.นายมงคล ตั้งโอฬาร คณะวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
5.นายเทวินทร์ อุ่นจิตร คณะวิศวกรมมศาสตร์

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อสุดท้ายประจำเดือนกรกฎาคม

ไข้หวัดใหญ่ 2009 เริ่มระบาดขึ้นในประเทศเม็กซิโก เมื่อประมาณกลางเดือน มี.ค. 52 ที่ผ่านมา และลุกลามไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 40 ประเทศ ทำให้นักวิจัยไทยได้พัฒนาชุดตรวจหรือเทคนิคการตรวจวินิจฉัยโรค อยากทราบว่าวิธีการตรวจไข้หวัดใหญ่ 2009 มีเครื่องมือการตรวจแบบใดบ้าง แต่ละเครื่องมือมีจุดเด่นหรือข้อจำกัดอย่างไรบ้าง

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกาศรายชื่อผู้โชคดีจากบอร์ดพลังงานชีวมวล

รางวัลที่ 1 นายเปรมศักดิ์ พวงพลอย คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี
รางวัลชมเชย
1. นายเทวินทร์ อุ่นจิตร คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2. นายชัชพล พูลเพิ่มทรัพย์ คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ผู้โชคดีทั้ง 3 ท่านกรุณาสำเนาบัตรนักศึกษาและติดต่อรับของรางวัลที่ เคาน์เตอร์บริการช่วยตอบคำถามและช่วยวิจัย ชั้น 1 สำนักหอสมุด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Ferret : ชีวิตนี้เพื่อวัคซีนหวัด 2009

เมื่อสักครู่ได้อ่านบทความเกี่ยวกับสัตว์ทดลองวัคซีนไข้หวัด 2009 จึงเพิ่งทราบว่าสัตว์ทดลองที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ใช้ทดลองวัคซีนรักษาไข้หวัด 2009 คือตัว เฟอร์เร็ต เลยสรุปข่าวสั้น ๆมาให้ทราบค่ะ

รศ.น.สพ.ปานเทพ รัตนากร ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังโรคสัตว์ คณะสัตวแพทย์ ม.มหิดล ให้ข้อมูลว่า เฟอร์เร็ตเป็นสัตว์ที่องค์การอนามัยโลก(WHO) กำหนดให้เป็นสัตว์ทดลองสำหรับทดสอบวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 ทุกประเทศ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีความไวต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ทุกชนิด(โดยเฉพาะเชื้อไวรัสชนิด เอ) คือ สามารถแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อได้ง่าย ตายเร็วและมีอาการเช่นเดียวกับคน ซึ่งสัตว์ทดลองบางชนิดแสดงไม่ได้ เช่น อาการไอ จาม มีน้ำมูก น้ำตา แต่เฟอร์เร็ตแสดงให้เห็นได้ชัดเจน โดยในการทดลองจะเลือกเฟอร์เร็ตอายุ 8-9 เดือน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เหมาะสมที่จะทำการทดสอบ

รศ.น.สพ.ปานเทพ อธิบายว่า “การทดสอบวัคซีนจะทำจนกว่าจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายในสัตว์ เพราะถ้าหากยังทำให้สัตว์ทดลองแสดงอาการ นั่นก็หมายความว่าวัคซีนตัวนั้นๆ ใช้ไม่ได้ ต้องแก้ไข เราจำเป็นต้องใช้เฟอร์เร็ตที่แข็งแรงเพื่อสังเกตอาการได้ชัดเจน โดยสังเกตอาการประมาณ 7 วันก็น่าจะรู้แล้วว่าปกติ ถ้ามีปัญหา หรือมีเชื้อที่ยังไม่ได้มาตรฐาน เฟอร์เร็ตจะแสดงอาการรุนแรง และตายใน 3 วัน เราต้องตรวจเลือด สารคัดหลั่ง ตรวจความผิดปกติทุกอย่างว่ามีเชื้อหลุดรอดอะไรมาอยู่หรือไม่ แม้แต่เฟอร์เร็ตที่ไม่แสดงอาการใดๆ หลังรับวัคซีนก็ไม่ได้แปลว่าวัคซีนตัวนั้นได้ผล ดังนั้นสัตว์ทดลองทุกตัวต้องถูกหาค่าจากสารคัดหลั่งอีกครั้งอยู่ดี”

ส่วนในประเทศไทยมีเฟอร์เร็ตที่ใช้สำหรับการทดสอบครั้งนี้ในศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ 10 ตัว และยังไม่แน่ว่าจะเพียงพอหรือไม่ และต้องใช้ตัวเฟอร์เร็ตมากเท่าใด จึงจะบอกได้ว่าวัคซีนตัวนั้นสำเร็จและไม่มีผลข้างเคียงกับมนุษย์ คณะผู้ทดสอบวัคซีนกับสัตว์ทดลองจะต้องรอให้การผลิตวัคซีนออกมาเสียก่อน

อ่านบทความต้นแหล่งที่

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000083014

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

สุริยุปราคา

ในวันที่ 22 ก.ค. ที่ผ่านมา ได้เกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคา เป็นสุริยุปราคาที่อยู่ในชุดซารองที่ 136 ซึ่งเป็นชุดซารอสที่มียาวนานที่สุด โดยบริเวณที่เห็นการบดบังมากที่สุดอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ กินเวลา 6 นาที 39 วินาที


ลำดับภาพการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในเมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 22 ก.ค.52 ซึ่งคราสค่อยๆ บังจนเป็นคราสเต็มดวงในภาพสุดท้าย (เอเอฟพี)


นักท่องเที่ยวชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่เกาะอิโวจิมาทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ซึ่งมีการถ่ายทอดสัญญาณการเกิดปรากฏการณ์ไปลงบนจอขนาดใหญ่ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมอุบัติใหม่แห่งญี่ปุ่น (National Museum, of Emerging Science and Innovation) ในกรุงโตเกียว (เอเอฟพี)


นักท่องเที่ยวชมปรากฏการณ์วงแหวนของสุริยุปราคาเต็มดวงที่เกาะอิโวจิมาทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ซึ่งมีการถ่ายทอดสัญญาณการเกิดปรากฏการณ์ไปลงบนจอขนาดใหญ่ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมอุบัติใหม่แห่งญี่ปุ่น (National Museum, of Emerging Science and Innovation) ในกรุงโตเกียว (เอเอฟพี)


ภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ซึ่งคาดบังเกือบมิด ในวันที่ 22 ก.ค.52 ณ เมืองฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (รอยเตอร์)


ภาพปรากฏการณ์วงแหวน (The diamond ring effect) เกิดขึ้นหลังจากคราสบังเต็มดวง ซึ่งเห็นทางตอนเหนือของเกาะอิโวจิมา ประเทศญี่ปุ่น ในปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง 22 ก.ค.52 (รอยเตอร์/สมาคมสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีญี่ปุ่น)


ภาพปรากฏการณ์วงแหวน (The diamond ring effect) ก่อนคราสบังเต็มดวง เห็นได้ที่ตอนเหนือของเกาะอิโวจิมา ประเทศญี่ปุ่น ในปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง 22 ก.ค.52 (รอยเตอร์/สมาคมสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีญี่ปุ่น)


ภาพรวมแสดงลำดับเหตุการณ์เกิดสุริยุปราคาที่เมืองฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 22 ก.ค.52 โดยไล่จากซ้ายไปขวาและจากแถวบนลงล่าง จะเห็นปรากฏการณ์ตั้งแต่คราสเริ่มบังดวงอาทิตย์ จากนั้นค่อยๆ บังจนเต็มดวงในภาพแรกของแถวที่ 2 จากนั้นการบดบังค่อยๆ ลดลงจนสิ้นสุดการบดบังในภาพสุดท้าย (รอยเตอร์)


แถมท้ายด้วย!! ภาพขณะคราสเริ่มบดบังดวงอาทิตย์ในปรากฏการณืสุริยุปราคาเต็มดวงวันที่ 22 ก.ค.52 ถูกซ้อนทับอีกครั้งด้วยภาพหอสูงของสุเหร่าใน เมืองอินชวน เขตปกครองตนเองชนชาติหุย หนิงเซี่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน (สำนักข่าวซินหัว/รอยเตอร์)

ที่มา manager online

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ล้างมือให้สะอาด..ปลอดภัยจากหวัด 2009

ช่วงนี้ประเทศไทยเริ่มตื่นตัวกับการป้องกันเชื้อโรคไข้หวัด 2009 เห็นได้จากนักเรียน นักศึกษา รวมทั้งประชาชนทั่วไป ใส่หน้ากากเดินไปมาตามที่สาธารณะ สถานศึกษา และที่ต่าง ๆ และเห็นเด็กให้ความสำคัญกับการล้างมือกันมากขึ้น วันนี้เลยมีวิธีการล้างมือที่ถูกต้องมาฝากกันค่ะ นอกจากนี้ยังเคยเห็นโฆษณาให้ร้องเพลงช้างจนจบจึงค่อยล้างน้ำให้สะอาด ต่างประเทศก็มีเพลงเช่นเดียวกันค่ะ ชื่อเพลงว่า washy washy clean ใครเบื่อร้องเพลงช้าง จะมาร้องเพลงนี้ก็ได้ไม่ว่ากันค่ะ การล้างมือที่ถูกต้อง ต้องทำให้มือสะอาดทั้งมือ โดยมีทั้งสิ้น 6 ขั้นตอน



เพลง


เนื้อเพลง


ที่มา

http://www.hpb.gov.sg/uploadedImages/HPB_Online/DigiTools/Audios/Handwashing_Jingle/WashyWashyCleanJingleLyrics.jpg

http://www.thaiclinic.com/medbible/handwash.html

http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/SamutSongkhram/knowledge/S3/S3-3.htm


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม