เมื่อห้องสมุดอยู่ในทะเล

หลายคนคงสงสัยว่าห้องสมุดกับทะเลมันเกี่ยวอะไรกัน จริงๆก็ไม่เกี่ยวหรอกค่ะ แค่ช่วงนี้เริ่มเข้าหน้าร้อน พอร้อนก็เลยนึกถึงทะเลก็เท่านั้นแหล่ะค่ะ ช่วงนี้ก็ช่วงปิดเทอมหลายคนคงเริ่มวางแผนจะหนีไปเที่ยวทะเลแน่นอน เลยคิดว่าถ้าไปทะเลแล้วทำยังไงให้ได้ความรู้หรือได้สิ่งใหม่ๆ กลับไปด้วย สิ่งแรกที่นึกถึงก็คงเป็นพวกแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ความรู้เกี่ยวกับทะเล ได้แก่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ที่อยู่ที่บางแสนนี่เองค่ะ เป็นหนึ่งในหลายๆแห่งที่คิดว่าคงไม่ไกลเกินไปนักถ้าจะรวบรวมสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนๆ ไปเที่ยวกัน แต่ว่าก่อนไปถ้าจะให้ดีศึกษาข้อมูลกันสักนิดก็จะดีค่ะ เลยค้นหาข้อมูลเกี่ยว "สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล" ในเว็บไซต์ก็มีบทความและเว็บบอร์ดถามตอบปัญหาที่น่าสนใจมากเลยค่ะ ถ้าร้อนนี้ใครยังไม่มีแผนไปเที่ยวที่ไหน ก็ลองเข้าไปที่เว็บไซต์ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เผื่อว่าเป็นทางเลือกในการเดินทางท่องเที่ยวในวันหยุดครั้งหน้าค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

บรรยากาศห้องสมุดในประเทศไทย

จากบทความที่แล้วนำภาพห้องสมุดที่สวยติดอันดับโลกนำเสนอ วันนี้เลยเพียรพยายามเสาะหาภาพบรรยากาศสบายๆ น่าอ่านหนังสือของห้องสมุดในประเทศไทยมาให้ชมกันบ้าง เริ่มจาก
1. ห้องสมุดอุทยานการเรียนรู้ TKPark(Thailand Knowledge Park), Central World


2. ห้องสมุดศูนย์การเรียนรู้, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


3. ห้องสมุดมารวย, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


4. ห้องสมุดเพื่อการออกแบบ TCDC(Thailand Creative & Design Center)


5. ห้องสมุดการเรียนรู้ซอยพระนาง, กรุงเทพฯ


6. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี




ที่มา http://www.fwdder.com/topic/27126/hl=%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

บรรยากาศห้องสมุดสวยติดอันดับโลก

ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วที่นำเสนอห้องสมุดแห่งชาติของประเทศต่างๆ หลังจากนั้นสองวันก็ไปอ่านพบ forward mail เกี่ยวกับห้องสมุดสวยๆ ติดอันดับโลก 20 แห่งก็เลยนำมาให้ชมโฉมกันค่ะ

Abbey Library St. Gallen, Switzerland




Library of Parliament, Ottawa, Canada



Library of Congress, Washington, DC, US



Jay Walker's Private Library



Library, Wolfenbüttel, Germany



George Peabody Library, Baltimore, Maryland, USA



Central Library, Seattle


Biblioteca Geral University of Coimbra, Coimbra, Portuga
แค่ตัวอย่างบางส่วนที่นำมาให้ชมค่ะ ใครที่สนใจสามารถเข้าไปชมได้ตามเว็บค่ะ 20 of the World's Most Beautiful Libraries
ที่มา http://www.oddee.com/item_96527.aspx

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

หอสมุดแห่งชาติประเทศต่างๆ

มีข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุดของประเทศต่างๆมาแนะนำค่ะ เชื่อว่าทุกคนคงคุ้นเคยกับหอสมุดแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ที่เป็นกลุ่มประเทศใหญ่ๆ ใช่ไหมคะ วันนี้เลยมีหอสมุดแห่งชาติของประเทศอื่นๆที่น่าสนใจไม่แพ้กันมาชมค่ะ

หอสมุดแห่งชาติประเทศภูฏาน National Library of Bhutan
หอสมุดแห่งชาติประเทศอูกันดา National Library of Uganda
หอสมุดแห่งชาติประเทศจาไมกา National Library of Jamaica
หอสมุดแห่งชาติประเทศโปแลนด์ The National Library of Poland
ที่มา สำนักหอสมุดแห่งชาติ http://www.nlt.go.th/th_links_library.htm

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Librarian on MSN

คงต้องยอมรับว่ารูปแบบการสื่อสารในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี โดยเฉพาะในโลก Cyber การสื่อสารที่รวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับยุคของข้อมูลข่าวสาร ซึ่งหนึ่งในหลายวิธีที่ได้รับความนิยม คือ MSN messenger หรือที่เด็กๆ เรียกกันจนติดปากว่า "ออนเอ็ม"

ห้องสมุดหลายแห่งใช้ประโยชน์จาก MSN ในการให้บริการตอบคำถามแก่ผู้ใช้ผ่านระบบ MSN Messenger ตัวอย่างเช่นสำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ใช้ MSN เพื่อช่วยเหลือแนะนำ นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการแสวงหาสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศทางวิชาการ และการใช้บริการห้องสมุด เพื่อการศึกษาค้นคว้า วิจัย ให้ได้รับคำตอบด้วยความรวดเร็ว นอกจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้วยังมีมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งที่นำเทคโนโลยีที่แสนประหยัดและแสนรวดเร็วมาใช้ เช่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ฯลฯ
ที่มา http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000025137

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เฉลยคำถามเดือนกุมภาพันธ์

1. ต้องการบทความเกี่ยวกับเรื่อง “Indoor Air Quality” ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2008จากฐานข้อมูล IEEE จะพบบทความกี่รายการ อะไรบ้าง (ค้นข้อมูลโดยใช้ Advance Search และเลือกให้คำค้นปรากฏเฉพาะใน Document Title เท่านั้น)
ตอบ
1.1 เปิดฐานข้อมูล IEEE แล้วเลือกคลิกที่ Advance Search เพื่อให้ค้นแบบละเอียดได้ (Advance Search สามารถค้นแบบระบุคำมากกว่า 2 คำ ระบุช่วงเวลาหรือค้นจากวารสาร/เอกสารชื่อใดชื่อหนึ่งได้)

1.2 พิมพ์คำค้น “Indoor Air Quality” แล้วเลือกค้นจาก Document Title จากนั้นระบุช่วงปี 2008 ตามกรอบสีแดง แล้วคลิก Rum Search


1.3 จะปรากฏรายการบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “Indoor Air Quality” ทั้งหมด 3 รายการ

2. อยากทราบว่า “Biological and ecological insights into Ca isotopes in planktic foraminifers as a palaeotemperature proxy” เขียนโดยใคร ตีพิมพ์ในวารสารชื่อว่าอะไร ปีที่.........ฉบับที่...... เดือน................. ค.ศ. ..........และเลขหน้าอะไร(ค้นจาก Science Direct)
ตอบ
บทความเรื่อง “Biological and ecological insights into Ca isotopes in planktic foraminifers as a palaeotemperature proxy” เขียนโดย Simone A. Kasemann, Daniela N. Schmidt, Paul N. Pearson, Chris J. Hawkesworth ตีพิมพ์ในวารสาร Earth and Planetary Science Letters Volume(ปีที่) 271 Issues (ฉบับที่) 1-4, 15 เดือน July 2008 หน้า 292-302

3. อยากทราบว่า วิทยานิพนธ์เรื่อง “Power games: The political use of solar
technology in northern Thailand” เป็นวิทยานิพนธ์ของใคร และเป็นของมหาวิทยาลัยใด และจัดทำแล้วเสร็จในปีใด (ค้นจาก Dissertation Fulltext)
ตอบ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นของ Green, Donna Lisa. จากมหาวิทยาลัย University of California, Berkeley สำเร็จในปี ค.ศ. 2004

4. หากใช้คำว่า “water pollution” ค้นหาสารสนเทศจาก ฐานข้อมูล Table of Content ที่สำนักหอสมุดจัดทำขึ้นจะพบบทความวารสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกี่รายการ
ตอบ 3 รายการ ได้แก่

>

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 37 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 7

งานดีๆ ที่คนไทยไม่น่าพลาดนะคะ ครั้งนี้นอกจากจะมีหนังสือนานามาให้เลือกอ่านอย่างหลากหลายแล้วยังมีนิทรรศการ และกิจกรรมสัมมนาที่น่าสนใจที่รวบรวมมาให้ดูกันบางส่วนค่ะ
วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2552
หัวข้อ: How the ASEAN publishing industry will be effected by the popularity of ‘digital’ contents สถานที่: ห้อง Board Room 1 เวลา 10.00-12.00 น. จัดโดย: สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย การเข้าอบรม: บรรยายภาษาอังกฤษ ไม่มีค่าใช้จ่ายกรุณาสำรองที่นั่ง โทร.0-2954-9560-4


วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2552
หัวข้อ: การจัดทำผลงานทางวิชาการเขียนหนังสือค้นคว้าและการเขียนรายงานการใช้ประเภทหนังสือ สถานที่: ห้อง Lotus เวลา 8.00-17.00 น. วิทยากร: อ.ถวัลย์ มาศจรัส จัดโดย: บริษัท สำนักพิมพ์ธารอักษร จำกัด การเข้าอบรม: ค่าใช้จ่ายเข้าอบรม 800 บาท/ท่าน โทร. 0-2883-0417-8

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552
หัวข้อ: โครงการวิจัยระบบหนังสือหมุนเวียนในโรงเรียนและการก่อสร้างห้องสมุดหนังสือดี 100 แห่งในกรุงเทพมหานคร สถานที่: ห้อง Meeting Room 2 เวลา 13.00-17.00 น. วิทยากร: ดร.มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์ และคณะวิจัย จัดโดย: บริษัท ดวงกมลสมัย จำกัด การเข้าอบรม: ไม่มีค่าใช้จ่าย โทร.0-2541-7375-6

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2552
หัวข้อ: Speech and book Presentation By Irasec ( Institute of Research on Contemporary South East Asia) and book presentation Contemporary research on South East Asia By Benoit de Treglode , Director of IRASEC. สถานที่: ห้อง Board Room 3 เวลา 15.00-17.00 น.
จัดโดย: สถานเอกอัครราชฑูตฝรั่งเศส การเข้าอบรม: ไม่มีค่าใช้จ่าย

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2552
หัวข้อ: ลิขสิทธิ์วิชาการกับงานห้องสมุด / “ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์” และ “การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม สำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุด” สถานที่: ห้อง Meeting Room 4 เวลา 13.00-17.00 น. วิทยากร: คุณสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล จัดโดย: สำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา การเข้าอบรม: ไม่มีค่าใช้จ่าย โทร.0-2547-4633

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2552
หัวข้อ: บุฟเฟต์ขายหนังสือ สถานที่: ห้อง Meeting Room 1 เวลา 8.00-17.00 น. จัดโดย: บริษัท สยามอินเตอร์ มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) โทร. 0-2276-2752

นี่เป็นแค่กิจกรรมบางส่วนค่ะ จริงๆแล้วมีกิจกรรมมากมายสำหรับคนทุกวัยตั้งแต่วัยเด็กเล็กจนถึงวัยผู้ใหญ่เลยค่ะ ถ้าสนใจก็เข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมกันได้ แล้วพบกันที่งานหนังสือนะคะ ไม่แน่เราอาจเดินสวนกันก็ได้ค่ะ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ขยายการประกวดโปสการ์ด


การประกวดออกแบบโปสการ์ดจากภาพถ่ายของห้อง KLINICS 3
ในหัวข้อ “Sharing Community”
รับใบสมัครตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2552
กำหนดส่งภาพถ่าย 31 มีนาคม 2552
ประกาศผลการตัดสิน 20 เมษายน 2552
กำหนดรับรางวัล 23 เมษายน 2552
เงื่อนไขในการร่วมกิจกรรม

- ออกแบบโปสการ์ดทั้งด้านหน้าและด้านหลังของโปสการ์ดขนาด
4x6 นิ้ว
- ผลงานการออกแบบต้องมีภาพถ่ายจากห้อง KLINICS3 เป็นองค์ประกอบหลักโดยถ่ายภาพจากกล้องดิจิตอลหรือโทรศัพท์มือถือ
(ไม่จำกัดยี่ห้อ / รุ่น)
- ไม่จำกัดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ออกแบบและจัดทำ
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยส่งประกวดหรือจัดแสดงที่ใดมาก่อน ทั้งภาพถ่าย และการออกแบบต้องเป็นผลงานของผู้สมัครเท่านั้น
- ส่งตัวโปสการ์ดขนาด 4x6 นิ้ว และไฟล์ภาพที่มีขนาด A4 File JPEG ใส่แผ่น CD-ROM เขียนชื่อ-นามสกุลเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ภาควิชาและคณะให้ชัดเจน ส่งผลงานได้ที่ห้อง KLINICS 1 และ KLINICS 3 สำนักหอสมุด
รางวัลชนะเลิศ 1,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 500 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 300 บาท
**สำนักหอสมุดขอสงวนสิทธิ์ไม่ส่งผลงานคืนผู้เข้าร่วมประกวด และผลงานที่ได้รับรางวัลจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักหอสมุด
ดาวน์โหลดใบสมัคร.jpg
ดาวน์โหลดใบสมัคร.doc

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เขียนบรรณานุกรมง่ายๆ

วันนี้เข้าไปอ่าน Blog ของชาวบรรณารักษ์หลาย Blog เลยไปพบ link ของเว็บนี้โดยบังเอิญ Biblio Maker หรือ บรรณานุกรมออนไลน์นี้ เป็นเครื่องมือช่วยจัดทำบรรณานุกรม ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเรียน นักศึกษา หรือ บุคคลที่ต้องการเขียนบรรณานุกรมในรูปแบบต่างๆ
Biblio Maker มีบริการเขียนบรรณานุกรมออนไลน์ หรือ บริการแปลงข้อมูลสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์เป็นบรรณานุกรมผ่านเว็บไซต์ ใช้ง่ายและไม่ต้องติดตั้ง ใครที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ โปรเจ็ค งานวิจัย หรือบทความวิชาการก็ไปใช้บริการได้ ตามเว็บนี้ค่ะ
เขียนบรรณานุกรม

แต่ถ้าใครอยู่ใน มจธ. แล้วมีปัญหานี้ก็เดินมาหาบรรณารักษ์ที่ห้อง KLINICS1หรือ KLINICS3 ได้เลยค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

แนะนำ Blog และ Web Site เกี่ยวกับห้องสมุดและการเรียนรู้



ศูนย์การเรียนรู้_ปัทมะเสวี

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Learning & Living in Cyber world

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ได้เข้าฟัง Forum เรื่อง "Learning & Living in Cyber world" ตอนประมาณ 12.00 - 13.30 น. ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การบรรยายครั้งนี้ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศ. ดร. คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ มาบรรยายเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยต้องตื่นตัวและปรับตัวอย่างไร เพื่อจะหาวิธีพัฒนานักศึกษาให้เป็นคนมีคุณภาพพร้อมที่ออกไปสู่สังคมของการทำงาน และการพัฒนาการระบบการ สอน การบริหารงานได้อย่างไรจุดหนึ่งคือ มหาวิทยาลัยต้องปรับให้ทันกับโลกไซเบอร์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ท่านได้ยกตัวอย่างเรื่องของการสื่อสารที่นับวันจะมีวิธีการสื่อสารได้หลากหลายวิธียิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อ 10 ปีก่อนก็ไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าในวันนี้จะมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่มากมาย

และเช่นเดียวกันนับจากวันนี้ไปอีกเพียงแค่ 5 หรือ 10 ปี ข้างหน้า ก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรหรือสังคมไซเบอร์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด เรื่องที่ท่านเน้น คือ มหาวิทยาลัยต้องสร้างองค์ความรู้ ต้องเร่งสร้าง เร่งวิจัยเพื่อหาหนทางต่อยอดความรู้ออกไปได้มากขึ้น อีกเรื่องคือการสร้างคนให้ประเทศเพราะยุคปัจจุบันความรู้ที่ได้เรียนไปจะล้าสมัยเร็วมาก เนื่องจากมีความรู้มีสารสนเทศใหม่ๆเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้คุณลักษณะของนักศึกษาต้องเป็นผู้ที่มีทักษะการเรียนรู้ได้เอง และเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งมีทักษะในการสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ต่อๆไปได้ สร้างนวัตกรรม และแก้ปัญหา รู้จักวิธีคิดวิเคราะห์เชิงลึกอย่างมีเหตุมีผลได้ รวมทั้งต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม

นอกจากนั้นในตอนท้ายของการบรรยายท่านได้กรุณาเล่าประสบการณ์การทำงานให้ฟัง และให้อาจารย์ที่ได้เข้าฟังทั้งที่วิทยาเขตบางมด และบางขุนเทียน (VDO Conference) ได้ซักถามขอ้สงสัยต่างๆ ซึ่งท่านก็ได้อธิบายและให้ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์มากทีเดียว และนี่ก็เป็นสิ่งที่พยายามจะสรุปออกมาให้เป็นเรื่องเป็นราวแต่ก็ทราบว่าคงยังไม่ครบสมบูรณ์ทั้งหมด ดังนั้นหากอาจารย์ท่านใดได้เข้าฟังในวันนั้นและมีข้อมูลเพิ่มเติม หรืออยากจะแก้ไขข้อมูลบางส่วนที่อาจจะสรุปผิดพลาดไปก็เข้ามาแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้เลยค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามประจำเดือนมีนาคม

1. บรรณานุกรมคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร (ค้นหาจากทรัพยากรสารสนเทศในสำนักหอสมุดหรืออินเทอร์เน็ต สามารถเขียน ถ่ายเอกสาร หรือพิมพ์จากหน้าเว็บมาส่ง)
2. ค่า impact factor คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร (ค้นหาจากทรัพยากรสารสนเทศในสำนักหอสมุดหรืออินเทอร์เน็ต สามารถเขียน ถ่ายเอกสาร หรือพิมพ์จากหน้าเว็บมาส่ง)
3. ต้องการบทความวารสารเรื่องเกี่ยวกับ “A 3-D finite element analysis of the sunflower (Helianthus annuus L.) fruit. Biomechanical approach for the improvement of its hullability” จากวารสาร “JOURNAL OF FOOD ENGINEERING” (สามารถค้นหารายละเอียดของบทความใน Table of Content จาก Special DBs. และพิมพ์เฉพาะหน้าบทคัดย่อจากตัวเล่มวารสารมาส่ง)
4. ฐานข้อมูลออนไลน์ที่สำนักหอสมุดให้บริการ ฐานใดบ้างที่เป็นฐานข้อมูลที่ครอบคลุมสหสาขาวิชา ยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 3 ฐานข้อมูล

ส่งคำตอบที่มีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่น่าเชื่อถือ (เขียนลงกระดาษขนาด A4 หรือ พิมพ์จากหน้าเว็บ) พร้อมเขียนชื่อ-สกุล คณะ/ภาควิชาและเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ที่ ห้อง KLINICS 1
ตั้งแต่วันนี้ –31 มีนาคม 2552
กติกาการร่วมกิจกรรม
1. การคัดเลือกผู้ชนะจะพิจารณาจาก
1.1 คำตอบที่ถูกต้องสมบูรณ์และมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้
1.2 หากมีผู้ตอบถูกมากกว่า 1 คน จะใช้การจับฉลากเพื่อเลือกผู้ชนะเพียงคนเดียว
2. รางวัลชนะเลิศมี 2 รางวัล
2.1 รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 500 บาท
2.2 ตุ๊กตาหมี 1 ตัว

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

หลักสูตรที่จะสร้างบรรณารักษ์สายพันธ์ใหม่

เมื่อสองวันก่อนได้อ่านบทความที่สรุปจากการฟังบรรยายหัวข้อ เรื่อง Preservation of Local Wisdom ซึ่งจัดโดย IFLA และมีหัวข้อย่อย เรื่อง “From LIS to ICS, a Curriculum Reform” โดย Assoc.Prof. Chihfeng P. Lin จาก Shih Hsin University ก็เห็นว่าน่าสนใจมากที่หลักสูตรบรรณารักษ์กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป

เรื่องทีสำคัญก็คืออยากกลับไปเรียนอีกจังเลยค่ะ เท่าที่ได้อ่านพบว่าการเรียน ICS จะเน้นให้เข้าใจถึงทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ วิธีการจัดการสารสนเทศ และน่าสนใจมากก็คือการสร้างช่องทางในการเข้าถึงสารสนเทศในรูปแบบใหม่ๆ วิชาที่เรียนก็พบว่าต่างกันกับที่ตัวเองได้เรียนมาอย่างสิ้นเชิง เช่น Image Digitizing , Designing of Interactive Procedure, Media Literacy, Introduction to Taxonomy เป็นต้น เอาเป็นว่าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บต้นฉบับเลยค่ะ ICS

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมประจำเดือนมีนาคม

พบกันอีกครั้งแล้วนะค่ะ ในกิจกรรมประจำเดือนมีนาคม มีโปรแกรมอบรมมากมายหลากหลาย ที่น่าสนใจกลับมาอีกครั้ง ถ้าพี่ๆ น้อง ท่านใดสนใจเข้าร่วมกิจกรรมกับเรา สามารถสอบถามทางโทรศัพท์ อีเมล หรือ มาด้วยตัวเอง สะดวกทางใดติดต่อมาได้เลยคะ ทางฝ่ายกิจกรรมมีกิจกรรมให้คุณเลือกสรรโปรแกรมการอบรมที่คับคั่ง ดังต่อไปนี้



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม