How do you feel about KLINICS 3

น้องๆ คิดอย่างไรกับห้อง KLINICS 3 เช่น บรรยากาศ รูปแบบ ฯลฯ ใส่ความคิดเห็นมาเยอะนะคะ พี่ๆ พร้อมเสมอที่จะรับฟังและนำไปปรับปรุงต่อไป

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

KLINICS 3

KLINICS3 เป็นพื้นที่ให้บริการในรูปแบบ Learning Commons สำหรับการเรียนรู้ร่วมกันมีรูปแบบการถ่ายทอด การแลกเปลี่ยน และการหมุนเวียนความรู้ในลักษณะของ KM Community รวมถึงได้จัดมุมสำหรับวารสารใหม่ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้บริการได้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย ห้อง KLINICS3 จะแบ่งออกเป็น 3 โซน
1. พื้นที่ KM Stand
2. ห้อง KM
3. พื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบเปิด
3.1 โซนไทย
3.2 โซนญี่ปุ่น
3.3 มุมอ่านวารสาร

พื้นที่ KM Stand
เป็นพื้นที่เปิดสำหรับถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นกลุ่มย่อยโดยผู้ใช้บริการเขียนข้อความลงบนแผ่นกระจกใส อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้ที่เข้าใช้บริการอื่นๆ ในพื้นที่เกิดความสนใจใฝ่รู้ได้อีกทางหนึ่ง ผู้ใช้สามารถใช้บัตรนักศึกษาหรือบัตรพนักงาน สำหรับเบิกปากกาและแปรงลบที่เคาน์เตอร์ให้บริการ KLINICS3

ห้อง KM
ห้องสำหรับแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบปิดในลักษณะกลุ่มมีทั้งหมด 5 ห้อง ได้แก่ ห้อง KM1, KM2, KM3, KM4 และ KM5 ให้บริการเฉพาะนักศึกษาและบุคลากร มจธ. ห้อง KM1, KM2, KM3 เป็นห้องที่มีระบบจัดเก็บความรู้โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการ
ห้อง KM1 : สำหรับผู้ใช้บริการ จำนวน 4 - 6 คน
ห้อง KM2 และ KM3 : สำหรับผู้ใช้บริการ จำนวน 10 - 12 คน
ห้อง KM 4 : เป็นห้อง KLINICS วิชาการ นักศึกษาสามารถรับคำปรึกษาจากคณาจารย์จากสาขาวิชาต่างๆ ตามวันและเวลาที่กำหนดไว้
ห้อง KM5 : เป็นห้องสำหรับสนทนาและถ่ายทอดความรู้กันเป็นกลุ่ม โดยตัวห้องจัดในลักษณะไม่เป็นทางการสำหรับผู้ใช้บริการ จำนวน 10-12 คน

อุปกรณ์ภายในห้อง KM ประกอบด้วย
กระดานดิจิตอล : ใช้ปากกาดิจิตอลเป็นเครื่องมือสำหรับเขียน ไม่อนุญาตให้ใช้ปากกาเขียนไวท์บอร์ด มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดเก็บความรู้และถ่ายทอดออกมาจากผู้ใช้บริการในรูปแบบของไฟล์ดิจิตอล ผู้ใช้จะบันทึกการถ่ายทอดความรู้ในรูปของไฟล์ดิจิตอลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วข้อมูลจะถูกนำไปจัดเก็บบนระบบเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลมาใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นการทบทวนเพิ่มเติม หรือแม้แต่ผู้ใช้กลุ่มอื่นๆ ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นการเพิ่มพูนความรู้ภายหลังได้ โดยจะมีคู่มือการใช้ประจำอยู่ทุกห้อง
เครื่องฉายภาพแบบติดผนัง : ทำหน้าที่แสดงผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ลดปัญหาแสงเงาที่จะเกิดขึ้นขณะที่ผู้ใช้บรรยายหรือเขียนอธิบายบนกระดานดิจิตอล
ตารางเวลาการให้บริการห้อง KM
รอบที่ 1 เวลา 8.30 – 12.30 น.
รอบที่ 2 เวลา 13.00 – 17.00 น.
รอบที่ 3 เวลา 17.30 – 20.30 น.

*หมายเหตุ - หากผู้ใช้บริการมาก่อนเวลาที่จองใช้ห้องไว้ หรือผู้ใช้บริการกลุ่มก่อนหน้านั้นใช้ห้องเสร็จก่อนรอบเวลา หรืออยู่ในช่วงพักรอบ อนุญาตให้เข้าใช้บริการได้ทันทีไม่ต้องคอยให้ถึงรอบเวลาจริงโดยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ประจำเคาน์เตอร์แล้ว

การขอใช้บริการห้อง KM1, KM2, KM3 และ KM5
ผู้ใช้สามารถจองใช้ห้อง KM ผ่านเคาน์เตอร์บริการ KLINICS1 (ชั้น1) และ KLINICS3 (ชั้น 5) ทั้งนี้ขอให้สิทธิการขอใช้บริการสำหรับอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาตามลำดับ เมื่อผู้ใช้บริการประสงค์จะยกเลิกการจองใช้ห้อง กรุณาแจ้งเคาน์เตอร์บริการ KLINICS1
(ชั้น1) และ KLINICS3 (ชั้น 5) ล่วงหน้าอย่างน้อย 30 นาที หรือโทร. 02 470 8213 หากผู้ใช้ไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้าจะถูกตัดสิทธิ์การจองครั้งในถัดไป 1 ครั้ง
ผู้ใช้บริการ 1 กลุ่ม สามารถจองใช้ห้องได้วันละ 1 รอบ เท่านั้น หากประสงค์จะขอให้บริการต่อในรอบถัดไปจะถูกจัดอยู่ในคิวก่อน หากไม่มีคิวการจองในรอบถัดไปจึงจะขอใช้บริการต่อเนื่องได้อีก 1 รอบ


ขั้นตอนการจองใช้ห้อง KM1, KM2, KM3 และ KM5 มี ดังนี้
1. ผู้ใช้บริการกรอกแบบฟอร์มเพื่อขอใช้ห้อง จากนั้นเจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อมูลลงในระบบการจอง
2. ผู้ใช้บริการติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำเคาน์เตอร์บริการ KLINICS3 เมื่อถึงเวลาที่จองไว้หากผู้ใช้บริการไม่มาตามกำหนดเวลาที่จองไว้เกิน 15 นาที จะให้สิทธิ์แก่ผู้ที่จองห้องนั้นๆ ในคิวถัดไปเข้าใช้ห้อง
3. แลกบัตรประจำตัวนักศึกษาหรือบัตรพนักงาน มจธ. จากตัวแทนผู้ใช้ 1 คน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่าเป็นเจ้าของบัตรจริง ก่อนรับกุญแจห้องและปากกาดิจิตอล
4. เข้าใช้ห้อง โดยปฏิบัติตามคู่มือที่แจ้งไว้
5. เมื่อใช้งานเสร็จแล้วให้นำกุญแจห้องและปากกาดิจิตอลมาคืนยังเจ้าหน้าที่
6. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์ต่างๆ ในห้อง แล้วจึงคืนบัตรให้

พื้นที่ต่างๆ ของ KLINICS
พื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบเปิด เป็นพื้นที่สำหรับแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ โดยแบ่งเป็น 3 โซนย่อย ได้แก่ โซนญี่ปุ่น โซนไทย และมุมอ่านวารสาร
โซนญี่ปุ่น จัดตกแต่งให้มีบรรยากาศคล้ายประเทศญี่ปุ่น มีโต๊ะและเบาะรองนั่ง เป็นพื้นที่สำหรับพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น หรือผ่อนคลายความเครียด
โซนไทย จัดตกแต่งให้มีบรรยากาศแบบไทยๆ มีโต๊ะและเบาะรองนั่ง เป็นพื้นที่สำหรับพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น หรือผ่อนคลายความเครียดเช่นเดียวกับโซนญี่ปุ่น
มุมอ่านวารสาร เป็นพื้นที่ให้บริการวารสารภาษาต่างประเทศ และมีตู้สำหรับนักศึกษาเก็บสัมภาระหรืองานได้ชั่วคราวภายในบริเวณนั้น จำนวน 10 ตู้ เป็นตู้ที่ไม่มีกุญแจล็อค

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมประจำเดือนมกราคม






อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกาศรายชื่อผู้โชคดีประจำเดือนธันวาคม

ผู้โชคดีประจำเดือนธันวาคมคือ นางสาวปิยะธิดา นวราช

กรุณามาติดต่อรับรางวัลได้ที่ห้อง KLINCS พร้อมนำสำเนาบัตรนักศึกษา และเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ตารางกิจกรรมประจำเดือนมกราคม


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามประจำเดือนมกราคม

ขอเชิญนักศึกษาร่วมกิจกรรมตอบคำถามจากทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุด
ชิงเงินรางวัล 500 บาท

กติกาการร่วมกิจกรรม
1. การคัดเลือกผู้ชนะจะพิจารณาจาก
1.1 คำตอบที่ถูกต้องสมบูรณ์และมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้
1.2 หากมีผู้ตอบถูกมากกว่า 1 คน จะใช้การจับฉลากเพื่อเลือกผู้ชนะเพียงคนเดียว
2. รางวัลชนะเลิศมี 1 รางวัล รางวัลละ 500 บาท

คำถามประจำเดือนมกราคม 2552
1. อยากทราบว่าบทความเรื่อง “เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับระบบโลจีสติกส์” ใครเป็นผู้เขียนบทความ และลงพิมพ์เป็นตัวเล่มในวารสารชื่อว่าอะไร (ค้นจากฐานข้อมูล ThaiLIS Digital Collection ในหน้า Link ของสำนักหอสมุด)

2. อยากทราบชื่อบทความของ David Francas ที่จะตีพิมพ์ในปี 2009 ในวารสารชื่อ Omega ปีที่ 37 ฉบับที่ 4 (ค้นจากฐานข้อมูล ScienceDirect)

3. ฐานข้อมูลออนไลน์ IEEE ที่สำนักหอสมุดจัดให้บริการนั้นจำกัดการเข้าใช้ในเวลาเดียวกันจำนวนกี่คน

4. สถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศ หรือ STATUS CODE ของสำนักหอสมุดที่มี Codeว่า “BILLED” มีหมายความว่าอย่างไร

ส่งคำตอบที่มีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่น่าเชื่อถือ (เขียนลงกระดาษขนาด A4 หรือ พิมพ์จากหน้าเว็บ) พร้อมเขียนชื่อ-สกุล คณะ/ภาควิชาและเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ที่ ห้อง KLINICS 1 ตั้งแต่วันนี้ – 31 มกราคม 2552

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เฉลยคำถามประจำเดือนธันวาคม

1. ในฐานข้อมูลที่สำนักหอสมุดจัดทำขึ้น (Special DBs) ส่วนของ List of Journal
ปัจจุบันสำนักหอสมุดมีวารสารภาษาไทยจำนวนกี่รายชื่อ และวารสารภาษาต่างประเทศจำนวนกี่รายชื่อ ?

ตอบ สำนักหอสมุดมีวารสารภาษาไทยให้บริการจำนวน 1105 รายการ และวารสารภาต่างประเทศจำวน 1388 รายการ
**เนื่องจากฐานข้อมูลวารสารภาษาไทยมีรายการเพิ่มเข้ามาใหม่ในเดือนธันวาคมทำให้จำนวนวารสารเพิ่มขึ้นจาก 1103 รายการเป็น 1105 รายการ ดังนั้นจึงอนุโลมสำหรับคำตอบทั้ง 1103 รายการและ 1105 รายการ

2. ต้องการบทความที่เป็นกฤตภาคเรื่อง “กรีนพีช” จากฐานข้อมูลกฤตภาค ซึ่งเป็น
หนึ่งในฐานข้อมูลออนไลน์ที่จัดทำโดยสำนักหอสมุด อยากทราบว่ามีทั้งหมดกี่รายการ อะไรบ้าง ?

ตอบ บทความกฤตภาคเรื่อง “กรีนพีช” จากฐานข้อมูลกฤตภาค มีทั้งหมด 5 บทความจาก : http://www2.lib.kmutt.ac.th/lib2006/service/research/specialdbs/kritapak.php



3. ต้องการทราบว่าหนังสือเรื่อง “Light, water, hydrogen : the solar generation of
hydrogen by water photoelectrolysis” มีผู้แต่งทั้งหมดจำนวนกี่คน ใครบ้าง ?

ตอบ หนังสือเรื่อง “Light, water, hydrogen : the solar generation of hydrogen by water photoelectrolysis” มีผู้แต่งทั้งหมด 3 คน ได้แก่ Craig A. Grimes, Oomman K. Varghese, Sudhir Ranjan”




จาก : http://kmittlib.lib.kmutt.ac.th/search/t?SEARCH=Light%2C+water%2C+hydrogen+%3A +the+solar+generation+of++


4. นิตยสารออนไลน์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี EMMET ฉบับที่ 7 ผศ.ดร.
พรรณจิรา วงศ์สวัสดิ์ ได้เขียนบทความไว้ 1 บทความ คือบทความเรื่องอะไร (พิมพ์บทความเรื่องนั้น)


ตอบ ผศ.ดร.พรรณจิรา วงศ์สวัสดิ์ เขียนบทความเรื่อง “โยเกิร์ต” ในนิตยสาร
ออนไลน์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี EMMET ฉบับที่ 7



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม