ตอบคำถามประจำเดือนกันยายน


ทุกๆสัปดาห์มีคำถามให้ร่วมสนุกกันเช่นเคยนะค่ะ สำหรับสัปดาห์นี้ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดสามารถเลือกรางวัลใดรางวัลหนึ่งได้ โดยติดตามคำถามได้ทางที่นี้หรือที่ป้ายประกาศห้องKLINICS ค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมประจำเดือนกันยายน

ทุกวันจันทร์ เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการค้นข้อมูลจาก Search Engine
ทุกวันอังคาร เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการสืบค้นฐานข้อมูลด้านการวิจัยและวิทยานิพนธ์
ทุกวันพุธ เวลา 13.30-15.00 การสร้างบรรณานุกรม ด้วยโปรแกรม End Note
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.30-15.00 การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์(ONline Database System)
ทุกวันศุกร์ เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการสืบค้นในเว็บไซด์ของสำนักหอสมุด
**หากนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากร ต้องการเข้าอบรมในหัวข้อใด สามารถแจ้งหัวข้อการอบรม ชื่อ-สกุล ผู้เข้าร่วมอบรม คณะหรือหน่วยงานที่สังกัด และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อมาที่ Kanita.sae@kmutt.ac.th

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

มาทำความรู้จักกับ Twitter กันดีกว่าค่ะ

ผู้อ่านที่เคยได้ใช้หรือยังไม่ได้ใช้ตัว Twitter นี้ เคยทราบหรือไม่ว่าโปรแกรมนี้มีที่มา และความเป็นไปอย่างไรบ้าง เราลองมาทำความรู้จักกับ Twitter กันดีกว่าค่ะ Twitter เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ จัดอยู่ในประเภท ไมโครบล็อก ก่อตั้งโดยบริษัท obvious corp เมื่อเดือนมีนาคม 2006 ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา มีสัญลักษณ์ให้คนติดตาคือนกนั่นเอง และสีโทนหลักของเว็ปเป็นสีฟ้า


จวบจนทุกวันนี้เพียงไม่กี่ปี twitter สามารถครองใจผู้ใช้ทั่วโลกตั้งแต่อายุ 25-54ปี (สถิติอ้างอิงจากมอร์แกน แสตนลีย์) เนื่องจากใช้งานง่าย ขั้นตอนการใช้ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนทำให้เข้าถึงคนจำนวนมากได้อย่างง่ายดาย โดยผู้ใช้พิมพ์ข้อความสั้นๆ และส่งข้อความ (tweet) ไม่เกิน 140 ตัวอักษร สามารถติดตาม (follow) เพื่อน หรือ ติดตามคนที่เราชื่นชอบว่าขณะนี้เขากำลังทำอะไร อยู่ที่ไหน และยังทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางทัศนคติมากขึ้นระหว่างผู้ใช้ Twitter


บริษัทวิจัยตลาด "เพียร์ แอนาลิติก" ได้สำรวจผู้ใช้ Twitter ในสหรัฐอเมริกาว่าวัตถุประสงค์ของการใช้ของคนอเมริกัน คืออะไร

1. ต้องการโปรโมตตัวเอง 3.75 %
2. พิมพ์ข้อความอื่นๆที่ไร้จุดหมาย 40.5 %
3. สนเทนาระหว่างผู้ใช้ Twitter 37.5%
4. พิมพ์ข่าวสารที่มีเนื้อหาสาระ 8.75%

ในส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของความคิดเห็นของผู้ใช้กลุ่มหนึ่งเท่านั้น การใช้มีทั้งข้อดีและข้อเสียขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่ามีวัตถุประสงค์ของการใช้ไปในแนวทางใด เพื่ออะไร และเพื่อใคร และทำอย่างไรเราจะใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเราให้ได้มากที่สุดค่ะ


ที่มา

ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย.(25 สิงหาคม 2552). Twitter Marketing กรณีศึกษาจากหนังสือ รวมฮิต Twitter.
ผู้จัดการรายสัปดาห์: หน้า D4.

ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์.(25 สิงหาคม 2552). คนใช้ทวิตเตอร์ส่วนใหญ่ใช้พล่ามเพ้อเจ้อไปวันๆ. มติชนสุดสัปดาห์: หน้า 100.

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

แนะนำ BLOG ด้านวิทยาศาสตร์

วันนี้ตอนบ่ายมีอบรมฐานข้อมูล Nature ระหว่างเข้าเว็บไซต์ของ Nature ก็เหลือบไปเห็น Link Blog ก็คลิกเข้าไปดูพบว่ามีเรื่องราวน่าสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์มากมาย ในบล็อกแบ่งเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ Bioinformatics, Chemistry, Clinical Practice & Research, Earth & Environment, Life Sciences, Neuroscience, Physics,Science and Society
ในแต่ละหัวข้อก็ยังมีบทความหรือประเด็นใหม่ที่น่าสนใจให้ update มากมาย นอกจากนั้นยังมี Blog เรื่องอื่น ๆ แนะนำด้วยสนใจแล้วใช่ไหมคะงั้นคลิกเลยค่ะ
Nature Blogs

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพบรรยากาศการเยี่ยมชมของคณะนักเรียนในโครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

วันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะนักเรียนในโครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าเยี่ยมชมสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มาชมภาพบรรยากาศกันเลยค่ะ



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อสุดท้ายประจำสัปดาห์

ธาตุ copernicium หรือ Cp ที่ถูกค้นพบใหม่ และเพิ่งได้รับการเติมลงในตารางธาตุเป็นลำดับที่ 112 เมื่อไม่
นานมานี้ มีที่มาจากชื่อของใคร และนักวิทยาศาสตร์ผู้นั้นมีความสำคัญหรือเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์เรื่องใด

เมื่อทราบคำตอบแล้วส่งคำตอบมาที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

*ขอย้ำนะค่ะเมื่อส่งคำตอบมาแล้วอย่าลืมอ้างแหล่งอ้างอิงที่เราหาคำตอบมาด้วย เพราะมีน้อง ๆ บางคนไม่ได้อ้างแหล่งมาทำให้เสียสิทธิ์การได้รับรางวัล ก่อนส่งตรวจทานคำตอบให้เรียนร้อยเสียก่อน ขอให้โชคดีทุกคนนะค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Learning Spaces for Net Generation: A Case Study at KMUTT's Library

King Mongkut’s University of Technology Thonburi

(KMUTT) has developed suitable common space for promoting life-long learning (self-directed and collaborative learning) called KMUTT’s Learning and Information Commons (KLINICS). In 2005, the first phase, KLINICS1, was established under the concept “a home away from home for learning” to provide information, technology and social to students in a comfortable, homelike space. KLINICS1 obtained good response from users, so KLINICS2 (which is similar to KLINICS1) was installed in KMUTT’s Bangkhuntien campus; however, KLINICS2 obtained less appreciation as it may not meet the needs of users at the campus. In 2008, KLINICS3 was established to emphasize more on promoting collaborative learning and inspiration through socialization. To evaluate the outcome of KLINICS3, the survey of user satisfaction was conducted between 1 April 2009 and 12 May 2009. The results showed that the average of mean user satisfaction is 3.97 out of 5.00. Other supportive information, such as the motivation and inspiration of learning, was also collected for planning learning spaces for not only net generation learners but also general users in the future.


You can read Full text : Full text

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Events in August

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

KMUTT in the World Ranking

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 15 ที่มีผลงานบนโลกออนไลน์ยอดเยี่ยมหรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นมหาวิทยาลัยไซเบอร์ ในโซนของกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) ส่วนมหาวิทยาลัยที่ได้อันดับ 1ของกลุ่ม ได้แก่ National University of Singapore หลักเกณฑ์การจัดอันดับจะประกอบด้วยปัจจัย 4 ปัจจัย ได้แก่
Size, Visibility, Rich และ Scholar
Size = จำนวน Pages ที่พบจาก Search Engines
Visibility = จำนวน External Links
Rich = จำนวนไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
Scholar = จำนวน Paper จาก Web Databases



ที่มา

Webometrics Ranking, 2009, Ranking Web of World Universities, [online], Available: http://www.webometrics.info/top100_continent.asp?cont=SE_Asia [20 August 2009].

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

DOULOS ร้านหนังสือลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เรือดูโลสสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1914 มีความเก่าแก่น้อยกว่าเรือไททานิกเพียงแค่ 2 ปี ควบคุมดำเนินงานโดยอาสาสมัครคริสเตียนกว่า 330 คนจากทั้งหมด 50 ประเทศ เรือ Doulos นี้ได้ถูกขนานนามว่าเป็นเรือเพียงลำเดียวที่เป็นร้านหนังสือลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุด ที่มีหนังสือมากกว่า หนึ่งล้านเรื่อง จาก 50 ผู้แต่ง
หัวหน้าวิศวกร นายDominic Bothelo ชาวอินเดีย ได้กล่าวถึงพันธกิจบนเรือว่า ชื่อ Doulos นั้นเป็นภาษากรีก แปลว่า การรับใช้ และใน Doulos นั้นกุญแจสำคัญก็คือ การรับใช้พระเจ้า และมนุษย์ โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ “ที่นี่เราทำงานทั้ง 24 ชั่วโมงในหนึ่งอาทิตย์ เมื่อบางคนหลับอยู่ คนที่เหลือทำงาน ในความเป็นจริงนั้น การรับใช้ เป็นคติพจน์สำหรับที่นี่ และเรามีความสุขในเรื่องนี้มาก” วิศวกร Bothelo ยังกล่าวอีกว่า พระเจ้าได้ใช้พันธกิจของเรือนำไปสู่วิญญาณของคนเป็นล้านคนทั่วโลก เช่น ในประเทศฟิลิปปินส์ พระเจ้าได้ใช้พวกเขาใน 5 เดือนที่ผ่านมา เพื่อเป็นการนำไปสู่ผู้ที่ต้องการในประเทศ “เราได้เดินทางไปยังคริสตจักรสองสามแห่ง และสถานที่แห่งการนมัสการและสามัคคีธรรม เพื่อที่จะประกาศความรักของพระเจ้า และมีหลายคนที่ได้ให้ชีวิตของพวกเขาแก่พระเจ้า”
“เราทุกคนสนับสนุนตนเอง ตั้งแต่กัปตันเรือไปจนถึงลูกเรือทุกคน เราทุกคนได้เงินเดือนคือศูนย์ (zero salary) โดยส่วนตัวผมทำงานเป็นอาสาสมัครบนเรือนี้มาตลอด 7 ปีแล้ว โดยการจัดการทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรม” เขากล่าวว่า เป็นประเพณีของเรือดูโลส ในการที่จะบริจาคหนังสือให้กับโรงเรียน และแม้แต่หน่วยงานราชการของประเทศนั้น ๆ ที่เรือไป โดยในเร็ว ๆ นี้ทางเรือได้บริจาคหนังสือในจำนวนมากให้กับรัฐบาลและประชาชนของติมอร์จะวันออก ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพระเจ้าได้ใช้พวกเขาให้แจกพระคัมภีร์ฟรีแก่คนในเขต Middle Belt ใน2ปีที่ผ่านมา
เรือ Doulos จะเทียบท่าที่ท่าเรือคลองเตยท่าที่ 1 ระหว่าง วันที่ 30 กรกฎาคม - 23 สิงหาคม 2552 บนเรือมีกิจกรรมหลากหลายทั้งหนังสือประเภทต่าง ๆ ให้เลือกสรรหนังสือกว่า 6,000 รายการ เป็นเนื้อหาด้านกีฬา งานอดิเรก ตำราประกอบอาหาร ศิลปะ ความรู้วิชาการ หนังสือคริสเตียน และยังรวมไปถึงหนังสือสำหรับเด็กที่มีจำหน่ายวางบนตู้โชว์ หนังสือทั่วไปในราคาพิเศษ นอกจากนั้นยังมี CD เพลงมากมายให้เลือกซื้อกลับไปฟังด้วยค่ะ อ้อ...ค่าเงินบนเรือใช้เป็น Unit ค่ะ 100 Unit เท่ากับ 80 บาทไทย หรือใครจะไปเอาหนังสือฟรีก็ได้ แค่ซื้อกระเป๋าผ้า Doulos ราคา 50 บาท ก็สามารถเลือกหนังสือฟรีใส่กระเป๋าให้เต็มกลับไปได้เลย ถ้ามีเวลาว่างก็ไปเยี่ยมชมได้นะคะ เจ้าหน้าที่บนเรือแม้จะเป็นชาวต่างชาติแต่ก็มีรอยยิ้มและพร้อมจะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ค่ะ มีโอกาสไปเมื่อวันอาทิตย์ 16 มีนาคม เลยเก็บภาพบรรยากาศบางส่วนมาฝากกัน หากใครได้ไปมาแล้วหรือกำลังจะไปก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ อีกอย่างค่าตั๋วขึ้นเรือแค่ 10 บาทเท่านั้นพลาดไปแล้วต้องรออีกหลายปีนะคะกว่าเรือจะกลับมาเยี่ยมเราอีกครั้งหนึ่ง หรือเข้าไปเยี่ยมชมที่เว็บไซต์ Doulos











ที่มา
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2009, เรือดูโลส (Doulos) [online], Available: http://thai.tourismthailand.org/festival-event/content-6856.html [18 สิงหาคม 2552].
ฐานา วิบูลย์ภาณุเวช, 2009, เรือ Mv Doulos [online], Available: http://www.peterdreamland.com/content/index.php?option=com_content&task=view&id=1070&Itemid=53 [18 สิงหาคม 2552].

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ช่องทางการติดต่อสำหรับนักศึกษามจธ.

ตอนนี้เทคโนโลยีก้าวไกลไปมากขึ้น พี่ๆบรรณารักษ์ต้องอับเดตให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ กัน ตอนนี้น้องๆ สามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งบนหน้าเวบหลักของมหาวิทยาลัยKMUTT เวบห้องสมุดKMUTT Library Twitter และที่ขาดไม่ได้คือบลอกของเรา KLINICS KMUTT Libraryตอนนี้ทางเรายังมีFace Book ให้เราได้ติดตามข่าวสารของกิจกรรมในห้องสมุดอีกช่องทางหนึ่งด้วยคะ แต่น้องๆต้องทำการสมัครFace Book ซะก่อนนะคะ ไม่ยังงั้นไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ทุกๆข่าว ทุกๆกิจกรรม จะคอยอับเดตอยู่ตลอดเวลาค่ะ หรือน้องๆมีคำปรึกษา หรือคำถามใดๆ สามารถ chatมาคุยกันผ่านทาง klinics@hotmail.com ได้เลยค่ะ พี่ๆบรรณารักษ์ยินดีตอบทุกคำถามนะค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 3

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ที่ผ่านมาเกิดปรากฏการณ์"สุริยุปราคาบางส่วน" (Patial Solar Eclipse) ในช่วงเวลา
ประมาณ 07.00 - 09.00 น. จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น จริง ๆ แล้ว ท่านทราบหรือไม่ว่าสุริยุปราคามีกี่ประเภท

เมื่อทราบคำตอบแล้วส่งคำตอบมาที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ดิวอี้ : เจ้าเหมียวในห้องสมุด

เมื่อวานเข้าไปอ่านวารสารโดมทัศน์ฉบับล่าสุด เพราะเห็นว่ามีเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุดต่าง ๆ ในประเทศออสเตรเลีย ทันทีที่กวาดสายตาลงไปพบบทความนี้ ต้องยอมรับว่าเรียกความสนใจได้มากจนต้องไปอ่านบทความนี้ก่อนบทความอื่น ๆ ที่ตั้งใจจะเข้ามาอ่านในตอนแรกเสียอีก บทความนี้ชื่อว่า “ดิวอี้ เหมียวสมุด” แปลและเรียบเรียงโดย ชูมาน ถิระกิจ (บรรณารักษ์ 8 ประจำฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) แมวตัวนี้ถูกพบโดย วิกกี้ ไมรอน หัวหน้าห้องสมุดประชาชน เมืองสเปนเซอร์ ในตอนแรกก็ไม่เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้เท่าใด แต่ในที่สุดด้วยความน่ารัก รู้อยู่ของดิวอี้ก็สามารถชนะใจผู้ใช้ที่เข้ามาอ่านหนังสือในห้องสมุด โดยเฉพาะเด็กที่ให้ความสนใจเข้ามาเล่นด้วยอยู่บ่อยครั้ง ดิวอี้ทำหน้าที่แมวห้องสมุดที่ช่วยให้ผู้ใช้มีรอยยิ้ม หรือแม้แต่พาไปที่ชั้นหนังสือนวนิยายถึง 19 ปีเต็ม แม้กระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ติดตามความน่ารักและเรื่องราวของเจ้าเหมียวแบบเต็ม ๆ ได้ที่ ดิวอี้ เหมียวสมุด หรือเข้าไปคุยกับ วิกกี้ ไมรอน ได้ที่ http://spencerlibrary.com/deweybio.htm และ http://www.facebook.com/DeweyTheBook

ฝากคลิปวีดิโอน่ารัก ๆ ของ ดิวอี้ให้ชมกันค่ะ





ที่มา
ชูมาน ถิระกิจ,2552,"ดิวอี้ เหมียวสมุด",วารสารโดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๒,หน้า 64-70.

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมประจำเดือนสิงหาคม



ทุกวันจันทร์ เวลา 13.30-15.00 การสร้างและตกแต่ง Blog
ทุกวันอังคาร เวลา 13.30-15.00
เทคนิคการสืบค้นฐานข้อมูลด้านการวิจัยและวิทยานิพนธ์
ทุกวันพุธ เวลา 13.30-15.00
เทคนิคการค้นข้อมูลจาก Search Engine
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.30-15.00
การสร้างสรรค์ปรับแต่งภาพเบื้องต้นด้วยโปรแกรม PhotoScape
ทุกวันศุกร์ เวลา 13.30-15.00
การสร้างบรรณานุกรม ด้วยโปรแกรม End Note การถ่ายโอนข้อมูล

**หากนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากร ต้องการเข้าอบรมในหัวข้อใด สามารถแจ้งหัวข้อการอบรม ชื่อ-สกุล ผู้เข้าร่วมอบรม คณะหรือหน่วยงานที่สังกัด และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อมาที่ Kanita.sae@kmutt.ac.th

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยซิดนีย์ : Animationสอนการค้นหนังสือ

วันนี้ค้นเว็บไซต์ห้องสมุดของประเทศออสเตรเลียเพื่อหาข้อมูลกิจกรรม คลิกไปคลิกมาเข้ามาที่เว็บไซต์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney Library) ลองคลิกเข้ามาดูเรื่องของกิจกรรมของห้องสมุด เห็นว่าห้องสมุดนี้มีกิจกรรมการสอนทักษะการรู้สารสนเทศรูปแบบ Animation ที่น่าสนใจ เลยนำมาให้ชมกัน ไม่แน่ในอนาคตเว็บไซต์ห้องสมุด มจธ. อาจมี Animation การแนะนำการใช้ห้องสมุดก็ได้นะคะ ส่วน LINK ที่นำมาให้ชมเป็นการค้นหาหนังสือในห้องสมุดที่กึ่ง ๆ การเล่นเกมคือผู้ชมมีส่วนร่วมในการช่วยตอบคำถามหรือช่วยค้นด้วยค่ะ นอกจากนั้นยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กันเช่น การอ้างอิง การค้นหาบทความวารสารจากฐานข้อมูล เป็นต้น






ดังนั้นใครที่สนใจสามารถเข้าไปชม Animation ได้ที่ University of Sydney Library



ที่มา
http://elearning.library.usyd.edu.au/learn/

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 2 ประจำสัปดาห์

Search Engine ของไมโครซอฟท์ ภายใต้ชื่อ "บิง : Bing.com" ที่ถูกพัฒนาจาก Live Search มีจุดเด่นพิเศษ
อย่างไรในการค้นหาข้อมูล

เมื่อทราบคำตอบแล้วส่งมาที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Be our commentator?

นับตั้งแต่ลงบทความครั้งแรกประมาณเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วจนถึงวันนี้ KLINICS ได้นำเสนอบทความข่าวสาร กิจกรรมและสาระต่าง ๆ รวมแล้วร้อยกว่าบทความ เผยแพร่มาแล้วเกือบ 10 เดือน ทาง KLINICS เลยอยากทราบว่าชาวมดทั้งหลายมีความรู้สึกอย่างไร มีคำแนะนำหรืออยากให้ KLINIC BLOG ปรับเปลี่ยนรูปแบบอย่างไร ต้องการให้จัดกิจกรรมแบบใด นำเสนอข้อมูลหรือข่าวสารด้านไหนเพิ่มเติมใน BLOG ของ KLINICS หนึ่งความคิดเห็นของคุณเป็นเสียงที่ยิ่งใหญ่สำหรับเราชาว KLINICS มากเลยนะคะ KLINICS มีของที่ระลึกมอบให้สำหรับผู้แสดงความคิดเห็น 10 ท่านแรก สามารถแสดงความคิดเห็นของคุณผ่านทาง BLOG หรือ Kanita.sae@kmutt.ac.th .....ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำแนะนำดี ๆ ค่ะ .....

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี : วิทยาศาสตร์ในความเป็นไทย


เมื่อเช้าอ่านพบบทความเรื่อง วิทยาศาสตร์ที่ซ่อนในพิพิธภัณฑ์จ่าทวี จาก manager online แล้วก็พบว่าของเก่าสมัยก่อนแฝงไว้ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างน่าทึ่ง เลยนำมาให้เล่าให้ฟัง ของใช้ในชีวิตของคนสมัยเก่าถือเป็นภูมิปัญญาที่น่าสนใจมาก ๆ เช่น กล่องตาแมว ใช้สำหรับจับหนูนาเพื่อมาทำอาหาร แต่ภายในกล่องมีไลที่แยลยลซ่อนตัวอยู่ เพราะในกล่องแบ่งออกเป็น 4 ช่อง โดย 2ช้องด้านหน้ามีกลไลไม้กระดก และ 2 ช่องด้านหลังเป็นที่สำหรับขังหนูที่วิ่งเข้ามาติดกับในกล่อง คือ เมื่อหนูวิ่งเข้ามากินอาหารที่วางล่อไว้ น้ำหนักของหนูจะทำให้ไม้กระดกเอียง และฝาไม้กลม ๆ จะกลิ้งไปปิดช่องที่หนูตัวนั้นเพิ่งวิ่งเข้าไป ซึ่งพฤติกรรมของหนูจะไม่วิ่งถอยหลังแต่วิ่งไปข้างหน้าแล้วติดอยู่ภายในกล่อง กลไกในกล่องนี้นี้จะทำงานสลับซ้าย-ขวา ตามจำนวนหนูที่วิ่งเข้าไปติดกับ ทำให้สามารถจับหนูได้หลาย ๆ ตัวด้วยกล่องเพีงแค่ใบเดียว ยังมีอุปกรณ์ที่น่าสนใจหลายชิ้นแต่กลัวว่าจะสรุปไม่ได้ใจความ ดังนั้นใครที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านต้นฉบับได้ที่ วิทยาศาสตร์ที่ซ่อนในพิพิธภัณฑ์ "จ่าทวี" หรือเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีเพื่อเข้าไปชมนิทรรศการออนไลน์ได้เลยค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

แฮคเกอร์ถล่ม"ทวิตเตอร์"

เมื่อเช้าวันพฤหัสที่ผ่านมา เว็ปไซด์โซเชียลเน็ตเวิร์ก ทวิตเตอร์(Twitter) ที่มีผู้ใช้ทั่วโลกประมาณ 35 ล้านคน ไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลานานกว่าสามชั่วโมง รวมถึงโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างเฟซบุ๊ก(Facebook) และไลฟ์เจอนัล(LiveJournal) โดยถูกโจมตีด้วย DoS (Denial-of-Service)



ทำให้ผู้ใช้บริการทั้งสามไซต์กว่า 300 ล้านรายไม่สามารถเข้าใช้บริการได้ DOS เป็นกลไกการโจมตี โดยแฮคเกอร์จะใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ตามบ้าน และที่ทำงานที่ติดบอตเน็ต (Botnets) หรือโปรแกรมของแฮคเกอร์กว่าหลายพันเครื่องเข้าไป ให้ลุกขึ้นมาทำงานพร้อมกัน โดยร้องขอใช้บริการจากเว็บไซต์เหล่านี้อย่างหนักจนกระทั่งระบบไม่สามารถให้บริการได้

ซึ่งผู้ใช้รายหนึ่งกล่าวว่า เขารู้สึกเหมือนถูกตัดขาดจากเพื่อนๆ นับร้อยบนทวิตเตอร์ และหันไปใช้เฟซบุ๊ก และอีเมล์แทนในช่วงเวลาดังกล่าว

ผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วโลกจะไม่สามารถใช้บริการได้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง หลังจากใช้งานได้แล้ว บริการดังกล่าวกลับไม่สามารถเข้าถึงจากทางไอโฟน หรือผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่มประเทศทางฝั่งยุโรปตะวันออก Stephan Tanase นักวิเคราะห์อาวุโสจา Kasperksy Lab "มันเป็นการโจมตีที่รุนแรงมาก" เขากล่าว

ทางด้านเฟซบุ๊กทีมีผู้ใช้บริการมากกว่า 250 ล้านรายจะมีผู้ใช้บางส่วนที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับประสิทธิภาพการให้บริการที่ลดลง

ส่วนไลฟ์เจอนัลทีมีผู้ใช้ 21 ล้านรายถูกตัดขาดการให้บริการเป็นเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง สำหรับการโจมตีที่เกิดขึ้นครั้งนี้ต้องถือว่า ร้ายแรงที่สุดตั้งแต่พบในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2000 เมื่อแฮคเกอร์วัย 15 ปีที่รู้จักกันในนาม Mafiaboy ได้สั่งให้เครือข่ายบอต (โปรแกรมเล็กๆ ที่สั่งการได้ของแฮคเกอร์ ซึ่งกระจายติดอยู่ตามคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันบนเน็ต) ถล่มแทรฟฟิกจนทำให้เว็บไซต์ดังๆ ในสมัยนั้นหลายแห่งอย่าง Yahoo, eBay, Amazon.com, Etrade, ZDNET และ CNN ไม่สามารถให้บริการได้

เมื่อเดือนก่อน มีการโจมตีด้วยเทคนิค DoS เช่นกัน จนทำให้เว็บไซต์ต่างๆ ของรัฐบาล รวมถึงเว็บไซต์ธุรกิจในสหรัฐ และเกาหลีใต้ต้องชะงักไป ซึ่งประเทศที่ถูกต้องสงสัยว่าน่าจะเป็นต้นเหตุของการก่อการครั้งนี้ก็คือ เกาหลีเหนือ ในการโจมตีครั้งนี้ยังได้มีการสั่งให้บ็อตกว่า 40,000 ตัวทำการลบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จนทำให้คอมพิวเตอร์ใช้งานไม่ได้อีกด้วย

Roger Thompson นักวิจัยจาก AVG บริษัทผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์กล่าวว่า การกระทำที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้ เหมือนจะเป็นความพยายามสร้างความสนใจให้ทั่วโลกหันมามองปัญหาที่เกิดจากบ็อตเน็ต ซึ่งหากคาดการณ์โดยประมาณ 40% ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเน็ต อาจตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอาชญากรคอมพิวเตอร์ ผู้สามารถเรียกใช้พวกมันให้กระทำการใดๆ ตามที่ต้องการได้

ที่มา http://www.arip.co.th/news.php?id=409664

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกาศรายชื่อผู้โชคดีประจำเดือนกรกฎาคม

รางวัลที่ 1 นายชัชพล พูลเพิ่มทรัพย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่
นายชัยวัฒน์ แก้วใหญ่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
นายมงคล ตั้งโอฬาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศกรมมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

ผู้ที่มีรายชื่อดังต่อไปนี้ กรุณาติดต่อกลับได้ที่ kanita.sae@kmutt.ac.th ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 1 ประจำเดือนสิงหาคม

สัตว์ทดลองที่ใช้ในการทดลองวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 คือสัตว์ชนิดใด และเหตุใดจึงต้องใช้สัตว์ชนิดนี้เป็นสัตว์ทดลอง

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม