ร่วมสนุกตอบคำถามประจำเดือนสิงหาคม

ในแต่ละสัปดาห์มีคำถามให้ร่วมสนุก สัปดาห์ละ 1 ข้อ (เดือนนี้มีทั้งหมด 4 ข้อ) ติดตามคำถามแต่ละสัปดาห์ ได้ที่นี้ ในทุกวันจันทร์
เริ่มร่วมสนุกตั้งแต่ วันที่ 3 ส.ค. 52 เป็นต้นไป
รางวัล ทุนการศึกษา 500 บาท 1 รางวัล
และของที่ระลึกจากสำนักหอสมุด 2 รางวัล
นักศึกษาสามารถส่งคำตอบได้ทั้ง 2 ช่องทาง คือ
1. KLINICS Blog ของสำนักหอสมุด
2. ส่งคำตอบทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) พร้อมเขียน ชื่อ-สกุล ภาควิชาคณะ และชั้นปี
การพิจารณาให้รางวัล พิจารณาจาก การส่งคำตอบได้ถูกต้อง (ทั้งหมด 4 ข้อ) เร็วที่สุด
และมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ โดยเรียงลำดับคะแนนผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก
แต่ละสัปดาห์ติดตามผู้ที่มีคะแนนสูงสุดได้ทางที่นี้ เท่านั้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

รายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดประจำสัปดาห์ที่สาม

1.นายธีรพล มียิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์
2.นายชัชพล พูลเพิ่มทรัพย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3.นายชัยวัฒน์ แก้วใหญ่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
4.นายมงคล ตั้งโอฬาร คณะวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
5.นายเทวินทร์ อุ่นจิตร คณะวิศวกรมมศาสตร์

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อสุดท้ายประจำเดือนกรกฎาคม

ไข้หวัดใหญ่ 2009 เริ่มระบาดขึ้นในประเทศเม็กซิโก เมื่อประมาณกลางเดือน มี.ค. 52 ที่ผ่านมา และลุกลามไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 40 ประเทศ ทำให้นักวิจัยไทยได้พัฒนาชุดตรวจหรือเทคนิคการตรวจวินิจฉัยโรค อยากทราบว่าวิธีการตรวจไข้หวัดใหญ่ 2009 มีเครื่องมือการตรวจแบบใดบ้าง แต่ละเครื่องมือมีจุดเด่นหรือข้อจำกัดอย่างไรบ้าง

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกาศรายชื่อผู้โชคดีจากบอร์ดพลังงานชีวมวล

รางวัลที่ 1 นายเปรมศักดิ์ พวงพลอย คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี
รางวัลชมเชย
1. นายเทวินทร์ อุ่นจิตร คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2. นายชัชพล พูลเพิ่มทรัพย์ คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ผู้โชคดีทั้ง 3 ท่านกรุณาสำเนาบัตรนักศึกษาและติดต่อรับของรางวัลที่ เคาน์เตอร์บริการช่วยตอบคำถามและช่วยวิจัย ชั้น 1 สำนักหอสมุด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Ferret : ชีวิตนี้เพื่อวัคซีนหวัด 2009

เมื่อสักครู่ได้อ่านบทความเกี่ยวกับสัตว์ทดลองวัคซีนไข้หวัด 2009 จึงเพิ่งทราบว่าสัตว์ทดลองที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ใช้ทดลองวัคซีนรักษาไข้หวัด 2009 คือตัว เฟอร์เร็ต เลยสรุปข่าวสั้น ๆมาให้ทราบค่ะ

รศ.น.สพ.ปานเทพ รัตนากร ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังโรคสัตว์ คณะสัตวแพทย์ ม.มหิดล ให้ข้อมูลว่า เฟอร์เร็ตเป็นสัตว์ที่องค์การอนามัยโลก(WHO) กำหนดให้เป็นสัตว์ทดลองสำหรับทดสอบวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 ทุกประเทศ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีความไวต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ทุกชนิด(โดยเฉพาะเชื้อไวรัสชนิด เอ) คือ สามารถแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อได้ง่าย ตายเร็วและมีอาการเช่นเดียวกับคน ซึ่งสัตว์ทดลองบางชนิดแสดงไม่ได้ เช่น อาการไอ จาม มีน้ำมูก น้ำตา แต่เฟอร์เร็ตแสดงให้เห็นได้ชัดเจน โดยในการทดลองจะเลือกเฟอร์เร็ตอายุ 8-9 เดือน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เหมาะสมที่จะทำการทดสอบ

รศ.น.สพ.ปานเทพ อธิบายว่า “การทดสอบวัคซีนจะทำจนกว่าจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายในสัตว์ เพราะถ้าหากยังทำให้สัตว์ทดลองแสดงอาการ นั่นก็หมายความว่าวัคซีนตัวนั้นๆ ใช้ไม่ได้ ต้องแก้ไข เราจำเป็นต้องใช้เฟอร์เร็ตที่แข็งแรงเพื่อสังเกตอาการได้ชัดเจน โดยสังเกตอาการประมาณ 7 วันก็น่าจะรู้แล้วว่าปกติ ถ้ามีปัญหา หรือมีเชื้อที่ยังไม่ได้มาตรฐาน เฟอร์เร็ตจะแสดงอาการรุนแรง และตายใน 3 วัน เราต้องตรวจเลือด สารคัดหลั่ง ตรวจความผิดปกติทุกอย่างว่ามีเชื้อหลุดรอดอะไรมาอยู่หรือไม่ แม้แต่เฟอร์เร็ตที่ไม่แสดงอาการใดๆ หลังรับวัคซีนก็ไม่ได้แปลว่าวัคซีนตัวนั้นได้ผล ดังนั้นสัตว์ทดลองทุกตัวต้องถูกหาค่าจากสารคัดหลั่งอีกครั้งอยู่ดี”

ส่วนในประเทศไทยมีเฟอร์เร็ตที่ใช้สำหรับการทดสอบครั้งนี้ในศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ 10 ตัว และยังไม่แน่ว่าจะเพียงพอหรือไม่ และต้องใช้ตัวเฟอร์เร็ตมากเท่าใด จึงจะบอกได้ว่าวัคซีนตัวนั้นสำเร็จและไม่มีผลข้างเคียงกับมนุษย์ คณะผู้ทดสอบวัคซีนกับสัตว์ทดลองจะต้องรอให้การผลิตวัคซีนออกมาเสียก่อน

อ่านบทความต้นแหล่งที่

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000083014

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

สุริยุปราคา

ในวันที่ 22 ก.ค. ที่ผ่านมา ได้เกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคา เป็นสุริยุปราคาที่อยู่ในชุดซารองที่ 136 ซึ่งเป็นชุดซารอสที่มียาวนานที่สุด โดยบริเวณที่เห็นการบดบังมากที่สุดอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ กินเวลา 6 นาที 39 วินาที


ลำดับภาพการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในเมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 22 ก.ค.52 ซึ่งคราสค่อยๆ บังจนเป็นคราสเต็มดวงในภาพสุดท้าย (เอเอฟพี)


นักท่องเที่ยวชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่เกาะอิโวจิมาทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ซึ่งมีการถ่ายทอดสัญญาณการเกิดปรากฏการณ์ไปลงบนจอขนาดใหญ่ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมอุบัติใหม่แห่งญี่ปุ่น (National Museum, of Emerging Science and Innovation) ในกรุงโตเกียว (เอเอฟพี)


นักท่องเที่ยวชมปรากฏการณ์วงแหวนของสุริยุปราคาเต็มดวงที่เกาะอิโวจิมาทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ซึ่งมีการถ่ายทอดสัญญาณการเกิดปรากฏการณ์ไปลงบนจอขนาดใหญ่ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมอุบัติใหม่แห่งญี่ปุ่น (National Museum, of Emerging Science and Innovation) ในกรุงโตเกียว (เอเอฟพี)


ภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ซึ่งคาดบังเกือบมิด ในวันที่ 22 ก.ค.52 ณ เมืองฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (รอยเตอร์)


ภาพปรากฏการณ์วงแหวน (The diamond ring effect) เกิดขึ้นหลังจากคราสบังเต็มดวง ซึ่งเห็นทางตอนเหนือของเกาะอิโวจิมา ประเทศญี่ปุ่น ในปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง 22 ก.ค.52 (รอยเตอร์/สมาคมสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีญี่ปุ่น)


ภาพปรากฏการณ์วงแหวน (The diamond ring effect) ก่อนคราสบังเต็มดวง เห็นได้ที่ตอนเหนือของเกาะอิโวจิมา ประเทศญี่ปุ่น ในปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง 22 ก.ค.52 (รอยเตอร์/สมาคมสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีญี่ปุ่น)


ภาพรวมแสดงลำดับเหตุการณ์เกิดสุริยุปราคาที่เมืองฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 22 ก.ค.52 โดยไล่จากซ้ายไปขวาและจากแถวบนลงล่าง จะเห็นปรากฏการณ์ตั้งแต่คราสเริ่มบังดวงอาทิตย์ จากนั้นค่อยๆ บังจนเต็มดวงในภาพแรกของแถวที่ 2 จากนั้นการบดบังค่อยๆ ลดลงจนสิ้นสุดการบดบังในภาพสุดท้าย (รอยเตอร์)


แถมท้ายด้วย!! ภาพขณะคราสเริ่มบดบังดวงอาทิตย์ในปรากฏการณืสุริยุปราคาเต็มดวงวันที่ 22 ก.ค.52 ถูกซ้อนทับอีกครั้งด้วยภาพหอสูงของสุเหร่าใน เมืองอินชวน เขตปกครองตนเองชนชาติหุย หนิงเซี่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน (สำนักข่าวซินหัว/รอยเตอร์)

ที่มา manager online

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ล้างมือให้สะอาด..ปลอดภัยจากหวัด 2009

ช่วงนี้ประเทศไทยเริ่มตื่นตัวกับการป้องกันเชื้อโรคไข้หวัด 2009 เห็นได้จากนักเรียน นักศึกษา รวมทั้งประชาชนทั่วไป ใส่หน้ากากเดินไปมาตามที่สาธารณะ สถานศึกษา และที่ต่าง ๆ และเห็นเด็กให้ความสำคัญกับการล้างมือกันมากขึ้น วันนี้เลยมีวิธีการล้างมือที่ถูกต้องมาฝากกันค่ะ นอกจากนี้ยังเคยเห็นโฆษณาให้ร้องเพลงช้างจนจบจึงค่อยล้างน้ำให้สะอาด ต่างประเทศก็มีเพลงเช่นเดียวกันค่ะ ชื่อเพลงว่า washy washy clean ใครเบื่อร้องเพลงช้าง จะมาร้องเพลงนี้ก็ได้ไม่ว่ากันค่ะ การล้างมือที่ถูกต้อง ต้องทำให้มือสะอาดทั้งมือ โดยมีทั้งสิ้น 6 ขั้นตอน



เพลง


เนื้อเพลง


ที่มา

http://www.hpb.gov.sg/uploadedImages/HPB_Online/DigiTools/Audios/Handwashing_Jingle/WashyWashyCleanJingleLyrics.jpg

http://www.thaiclinic.com/medbible/handwash.html

http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/SamutSongkhram/knowledge/S3/S3-3.htm


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อ 3 สัปดาห์ที่สามเดือนกรกฎาคม

รางวัลโนเบลเป็นรางวัลที่มอบให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานสาขาต่างๆ มีการประกาศในเดือนตุลาคมของทุกปี
ท่านทราบหรือไม่ว่ารางวัลโนเบลมีทั้งหมดกี่สาขา และในปี 2008 ที่ผ่านมามีใครได้รับรางวัลโนเบลในสาขาใดบ้าง

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

รายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดประจำสัปดาห์ที่สอง

1.นายธีรพล มียิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์
2.นายมงคล ตั้งโอฬาร คณะวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
3.นายชัชพล พูลเพิ่มทรัพย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
4.นายไกรวิทย์ พระสว่าง คณะวิทยาศาสตร์
5.นายชัยวัฒน์ แก้วใหญ่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
6.นายเทวินทร์ อุ่นจิตร คณะวิศวกรมมศาสตร์

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

หน้ากากอนามัย...ใส่อย่างไรให้ห่างไกลไข้หวัด 2009

ได้อ่านบทความจากสภากาชาดไทยเลยพบกับบทความเกี่ยวกับการใส่หน้ากาอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อโรคหวัด 2009 อย่างปลอดภัยเลยสรุปมาฝากกันค่ะ นพ.สมชัย นิจพานิช รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เล่าถึงการใช้หน้ากากอนามัยป้องกันอย่างถูกต้องว่า การใช้หน้ากากอนามัย มีไว้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด และ ผู้เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจใช้ เพราะหากผู้ป่วยไอจามในที่ชุมชน จะทำให้ผู้อื่นติดได้ เพราะจากผลวิจัย พบว่าการที่ผู้ป่วยไอ 1 ครั้ง สามารถแพร่เชื้อได้ไกลถึง 1 เมตร ประเทศไทยเริ่มใช้หน้าการอนามัยครั้งแรก เมื่อ 90 ปีก่อน เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปน ส่วนในประเทศไทย สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ได้รับสั่งให้นำมาใช้ทางการแพทย์เมื่อ พ.ศ. 2463

ขั้นตอนการทำหน้ากากอนามัย
1. นำผ้าที่เตรียมไว้มาพับครึ่งตามความยาวผ้าแล้วพับจับจีบทวิช 1 นิ้ว ตรงกลางผ้ากลัดด้วยหมุด หรือ เนาตรึงไว้ และ ทำอีกชิ้นเช่นเดียวกัน
2. นำผ้าที่พับไว้มาวาง โดยหันด้านนอกขึ้น และนำยางยืดมาวางที่มุมผ้าด้านกว้างข้างบน และข้างล่าง ด้านละ 1 เส้น กลัดเข็มหมุด หรือ เนาตรึงไว้
3. นำผ้าที่พับไว้อีกชั้นมาวางซ้อนกับผ้าชิ้นแรกที่ตรึงยางยืดไว้ โดยหันผ้าด้านนอกชนกัน แล้วเย็บจักร หรือ ด้นถอยหลังรอบผ้าสี่เหลี่ยม ให้ห่างจากริมผ้า ด้านละครึ่งเซนติเมตร โดยเว้นช่องว่างไว้กลับตะเข็บ ประมาณ 1 นิ้ว
4. ขลิบผ้าตรงมุมทั้ง 4 มุม ให้ใกล้กับรอยเย็บ เพื่อเวลากลับตะเข็บจะได้เรียบร้อยสวยงาม
5. สอยปิดช่องว่างที่เว้นไว้ให้เรียบร้อย

สำหรับการระบาดของโรคหวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ผู้ป่วยควรที่จะสวมหน้ากากป้องกันการแพร่เชื้อไม่ให้ผู้อื่นได้รับเชื้อ โดยก่อนที่จะใส่หน้ากากต้องล้างมือให้สะอาดก่อน และเมื่อทำการสวมใส่ ควรหลีกเลี่ยงให้มือไปสัมผัสกับเนื้อผ้าบริเวณด้านในที่แนบกับจมูกและปาก เพราะในมืออาจมีเชื้อโรคทำให้เข้าสู่ร่างกายได้ นพ.สมชัย กล่าวอีกว่า ควรใส่ให้ผ้าปิดตั้งแต่จมูกจนถึงคาง เพื่อป้องกันเชื้อร้ายที่แฝงตัวมากับอากาศเข้าสู่ร่างกาย ขณะเดียวกัน หลายคนอาจเกรงกลัวจนต้องดึงสายรัดให้แน่นมากที่สุดนั้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องดี เพราะทำให้หายใจไม่สะดวก ผู้ใส่ควรดัดเหล็กที่เป็นโครงให้เข้ากับดั้งจมูกให้แนบสนิท เนื่องจากเป็นจุดเสี่ยง ที่เชื้อโรคจะเข้าสู่จมูกได้ง่าย เมื่อใส่หน้ากากอนามัยแล้ว ไม่ควรล้วงหรือเกาบริเวณที่ผ้าปิดอยู่ จะทำให้เชื้อโรคที่ติดมากับมือเข้าไปภายใต้หน้ากากอนามัยได้ หน้ากากอนามัยสามารถประดิษ์ขึ้นมาเองได้และสามารถช่วยป้องกันได้ถึง 80% โดยใช้วัสดุเช่น ผ้าสาลู ผ้าฝ้าย ผ้ายืด ผ้าอ้อมเด็ก ผ้าถุง เป็นต้น ทำให้ประหยัดเงินได้อย่างมากเพราะไม่ต้องเสียเงินซื้อบ่อย ๆ หน้ากากที่ผลิตเองสามารถซักและนำมาใช้ใหม่ได้




ที่มา
1. 2552, หน้ากากอนามัย...ใส่อย่างไรให้ห่างไกลไข้หวัด 2009. เดลินิวส์, 14 กรกฏาคม 2552.
2. 2552, การใส่หน้ากากอนามัยให้ได้ผล, [online], Available: http://www.youtube.com/watch?v=zLIbxBS2pWU&feature=player_embedded [15 กรกฏาคม 2552].

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วารสารวิทยาศาสตร์ออนไลน์ PLoS Biology

PLoS Biology เป็นวารสาร peer-reviewed ทางด้านชีววิทยาที่ตีพิมพ์โดย the Public Library of Science (PLoS) เป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไรทางด้านวิทยาศาสตร์และฟิสิกส์ โดยจะลงพิมพ์บทความใหม่ทางออนไลน์ในทุกสัปดาห์ และจัดพิมพ์ตัวเล่มในทุกเดือน บทความที่ตีพิมพ์จะมีเนื้อหาด้านชีววิทยา รวมทั้งเนื้อหาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเช่น เคมี คณิตศาสตร์ เป็นต้น ผู้สนใจสามารถเข้าไปค้นหาบทความได้ที่ PLoS Biology


ที่มา
http://www.plosbiology.org/home.action


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมประจำเดือนกรกฎาคม

ทุกวันจันทร์ เวลา 13.30-15.00 เทคนิคการสืบค้นในเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด
ทุกวันอังคาร เวลา 13.30-15.00
เทคนิคการสืบค้นฐานข้อมูลด้านการวิจัยและวิทยานิพนธ์
ทุกวันพุธ เวลา 13.30-15.00
เทคนิคการค้นข้อมูลจาก Search Engine
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.30-15.00
การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ Online Database System
ทุกวันศุกร์ เวลา 13.30-15.00
การสร้างบรรณานุกรม ด้วยโปรแกรม End Note

**หากนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากร ต้องการเข้าอบรมในหัวข้อใด สามารถแจ้งหัวข้อการอบรม ชื่อ-สกุล ผู้เข้าร่วมอบรม คณะหรือหน่วยงานที่สังกัด และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อมาที่ Kanita.sae@kmutt.ac.th

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

รายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดประจำสัปดาห์แรก

1.นายมงคล ตั้งโอฬาร คณะวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
2.นายธีรพล มียิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์
3.นายอภิรมย์ อาทิตย์ตั้ง คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี
4.นายพชรพร ธรรมวิญญู คณะวิศวกรรมศาสตร์
5.นายเทวินทร์ อุ่นจิตร คณะวิศวกรมมศาสตร์

น้อง ๆ สามารถสะสมคะแนนได้ต่อเนื่องในทุก ๆ สัปดาห์ หากน้อง ๆ คนไหนยังไม่เห็นรายชื่อของตัวเองยังไม่ต้องเสียใจไปนะค่ะยังมีคำถามที่สองให้ร่วมเล่นสนุกอีกค่ะ รีบส่งคำตอบมาให้เร็วที่สุดอย่าลืมอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่พบคำตอบด้วยนะค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อ 2 สัปดาห์ที่สองเดือนกรกฎาคม

การแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2552 ที่จะจัดการแข่งขันรอบแรกในเดือนตุลาคม 2552 ท่านทราบหรือไม่ว่าหลักการสำคัญของแนวความคิดหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์คืออะไร

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

ในปลายสัปดาห์ติดตามผู้ที่มีคะแนนสูงสุดได้ทางที่นี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Google Chrome OS

หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก Google Chrome OS ว่ามีหน้าที่ หลักการทำงานและมีประโยชน์อย่างไรบ้างสำหรับนักท่องไซเบอร์อย่างพวกเรา Google Chrome OS อาจจะเรียกสั้น ๆ ว่า "Chrome" เป็นระบบปฏิบัติการหรือโอเอสแบบเปิด อธิบายง่าย ๆ ว่า เป็นBrowser ที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับ ไออี (Internet Explorer) ไฟลร์ฟอกซ์ (Firefox)และซาฟารี (Safari)

Google ได้เปิดตัว "Chrome" เมื่อไม่นานมานี้ โดยมีเป้าหมายหลัก ต้องการตีตลาดของบริษัทไมโครซอฟท์ ในช่วงแรกจะเจาะกลุ่มผู้ใช้เน็ตบุ๊ค และคาดว่ากลุ่มผู้ใช้เน็ตบุ๊คใช้ "Chrome" ในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า
จุดเด่นของ "Chrome" คือ ความรวดเร็ว ใช้งานง่ายและ ปลอดภัย สามารถเข้าสู่เว็บไซต์ โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที ซึ่งทำงานบนลีนุกซ์ เคอร์เนล "Chrome" จะทำงานในระบบ ARMChip x86 และทำงานร่วมกับบริษัทรับจ้างผลิตแบบโฮอีเอ็มเพื่อผลิดเน็ทบุ๊คจำนวนหนึ่งวางตลาดตามเป้าหมาย
โดยไมโครซอฟท์มีส่วนแบ่งทางการตลาดในรุ่นไออี 6 7 และ 8 รวมกันถึง 65.8% ส่วนบริษัทโมซิลลิ่ล รุ่นไฟลร์ฟอกซ์ 3.5% และบริษัทแอปเปิล รุ่นซาฟารี 4% ต้องติดตามกันว่า "Chrome" ได้ส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นเท่าใดและสามารถเป็นคู่แข่งทางการตลาดที่สำคัญได้หรือไม่
ซึ่งถือได้ว่าผู้ใช้มีทางเลือกที่หลากหลายในการเลือใช้ Browser มากขึ้นและตรงกับความต้องการมากที่สุด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

หลักสูตรการบริการสารสนเทศและห้องสมุดดิจิทัล

เช้านี้ได้เข้าไปอ่านบลอกประจำคือ http://www.libraryhub.in.th พบบทความที่น่าสนใจสำหรับการศึกษาด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เป็นหลักสูตร Digital library and information services ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสองแห่ง ได้แก่ University of Boras (UB) จากประเทศสวีเดนและ Asian Institute of Technology หรือที่เราเรียกกันย่อๆ ว่า AIT คุณวายเจ้าของบลอกสรุปข้อมูลจากเว็บต้นแหล่งว่าหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรออนไลน์ การเรียนในโปรแกรมนี้จะถูกแบ่งเป็น 8 เทอม (4ปี)และจำนวนหน่วยกิตทั้งหมดของโปรแกรมนี้คือ 120 หน่วยกิต เนื้อหาวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรนี้มีหลายวิชาที่น่าสนใจ เช่น
1.Information retrieval for digital libraries (introduction)
2.Technology of digital libraries (advanced level
3.Information retrieval for digital libraries (advanced level)
4.Digital Library Management (advanced level
5.Users and use of digital information services and libraries (advanced level)
หลักสูตรนี้มีค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 4 ปี 364,000 บาท แบ่งเป็นค่าลงทะเบียนเทอมละ 8,000 บาท และค่าหน่วยกิตๆ ละ 2,500 บาท เป็นหลักสูตรที่สร้างบรรณารักษ์รุ่นใหม่เพื่อสรรหาบริการใหม่ให้ผู้ใช้รุ่นใหม่ที่เป็น Net Generation ดังนั้นในอนาคตหากบ้านเรามีหลักสูตรแบบนี้เราจะมีบรรณารักษ์ Net Generation ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ Net Generation คงจะเป็นห้องสมุดแห่งการเรียนรู้แน่นอนใช่ไหมคะ

ที่มา
http://www.libraryhub.in.th/2009/07/09/master-program-about-digital-library-in-thailand/
http://mlis.cs.ait.ac.th/
http://mlis.cs.ait.ac.th/brochure-all-color.pdf

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกาศรายชื่อผู้โชคดีจากบอร์ดพลังงานชีวมวล

รางวัลที่ 1 นายเปรมศักดิ์ พวงพลอย คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี
รางวัลชมเชย
1. นายเทวินทร์ อุ่นจิตร คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2. นายชัชพล พูลเพิ่มทรัพย์ คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ผู้โชคดีทั้ง 3 ท่านกรุณาสำเนาบัตรนักศึกษาและติดต่อรับของรางวัลที่ เคาน์เตอร์บริการช่วยตอบคำถามและช่วยวิจัย ชั้น 1 สำนักหอสมุด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำถามข้อที่ 1 สัปดาห์แรก ประจำเดือนกรกฎาคม

การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นการแข่งขันพัฒนารถไร้คนขับ ให้วิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดให้ได้ระยะทางไกลที่สุดและเร็วที่สุด ท่านทราบหรือไม่ว่าทีมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่เข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้มีชื่อทีมว่าอะไร

นักศึกษาท่านใดทราบคำตอบ ส่งคำตอบได้ที่ ทางบลอกของ KLINICS หรือทาง E-mail (kanita.sae@kmutt.ac.th) โดยเขียน ชื่อ-สกุล คณะ ชั้นปี เบอร์ติดต่อกลับ

การพิจารณาการให้รางวัลจะดูจากการส่งคำตอบได้ถูกต้อง เร็วที่สุดและมีหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้โดยมีเงินรางวัลเดือนละ 500 บาท

ในปลายสัปดาห์ติดตามผู้ที่มีคะแนนสูงสุดได้ทางที่นี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Coffee or Tea?

Yesterday,I saw this video file about robot, She is HINA .She can make you some coffee as well as dance! She is very Amazing Robot. Enjoy her excellent coffee making skill through the video below!







อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม